ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในการบริหารโรงเรียน กลุ่มสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี

Main Article Content

วุฒิชัย แม้นรัมย์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่มีผลต่อการบริหารโรงเรียน และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมมีผลต่อการบริหารโรงเรียน จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ปฏิบัติงานและขนาดโรงเรียนและเพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในการบริหารโรงเรียน กลุ่มสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ประชากรได้แก่ ครูในโรงเรียนสหวิทยาเขตปิยมิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จํานวน 513 คน จาก 5 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนสหวิทยาเขตปิยมิตร สุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่าง 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.919 มีดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ และผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่มีผลต่อการบริหารโรงเรียน กลุ่มสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ตามความคิดเห็นของครูโดยภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เรียงตามคะแนนค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม ด้านการบริหารความเสี่ยง และด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง 2) ครูที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมมีผลต่อการบริหารโรงเรียน กลุ่มสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมมีผลต่อการบริหารโรงเรียน กลุ่มสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง และด้านการบริหารความเสี่ยง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่าง 3) แนวทางในการส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมมในการบริหารโรงเรียน กลุ่มสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี คือ ผู้บริหารควรมองถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดวิสัยทัศน์ ให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และต้องรู้จักการบริหารความเสี่ยง ขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562. ออนไลน์. สืบค้น เมื่อ 10

มกราคม 2566. แหล่งที่มา https://www.moe.go.th.

ฐิตินันท์ นันทะศรี, วาโร เพ็งสวัสดิ์, วัลนิกา ฉลากบาง และพรเทพ เสถียรนพเก้า. (2563). ภาวะผู้นำเชิง

นวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา. 17 (79), 11.

ซานีรา สุมาลี. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ปาริฉัตร นวนทอง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ. 13 (1), 1438-1441.

สุพรรษา แก้วสีหมอก. (2565). ภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตาม

ความคิดเห็นของครูในโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตนวลจันทร์สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (8), 420.

สมพงษ์ เชือกพรม. (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัด

สำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สุวิมล ตันสิงห์. (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). การวิจัยทางการศึกษา : แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th Ed.). New York: Routledge