ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสวัสดิการผู้สูงอายุ และปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 42,782 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 3 ตอน ได้แก่ ปัจจัยสวัสดิการผู้สูงอายุ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 ปัจจัยแรงสนับสนุนด้านสังคม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่น .90 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความมั่นคงในชีวิต การศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 52 (R2= .52) การสนับสนุนด้านอารมณ์ และและการสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร ร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 75 (R2= .75) ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนให้การดูแลผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีและการมีสุขภาวะที่ดีต่อไป
Article Details
References
จีราพร ทองดี, ดาราวรรณ รองเมือง และ ฉันทนา นาคฉัตรีย์. (2555). ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22 (3), 88-99.
จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารกึ่งวิชาการ, 38 (1), 6–28.
ฤทธิชัย ชาแสน. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). กรอบทิศทางการจัดสวัสดิการทางสังคมที่ยั่งยืน ในช่วงแผนฯ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. (2566). ร้อยละของ Healthy Ageing เขตสุขภาพที่ 6 จังหวัดชลบุรี 2566. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา http://hdc2.cbo.moph.go.th/hdc/ reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=bbcb40adb960e0564efba686c316c009
Ayre, C., & Scally, J. (2014). Critical Values for Lawshe’s Content Validity Raio: Revisting the Original Methods of Calculation. Measurement and Evaluation in Counseling and Development, 47, 79-86.
Best, J. W. (1981). Research in Education (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Kim, B.-R., & Hwang, H.-H. (2022). Analysis of Major Factors Affecting the Quality of Life of the Elderly in Korea in Preparation for a Super-Aged Society. International Journal of Environmental Research and Public Health, 19(9818), 1-24
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Munro, B. H. (2005). Statistical methods for health care research (5th ed.). Philadelphia: Lippincott William & Wilkins.
Schaffer, M. A. (2004). Social support. In Peterson, Bredow T. S. (Ed.). Middle range theories, Application to nursing research (1st ed). Philadelphia: Lippincott: Williams& Wilkins.
Shen T, Li D., Hu Z, Li J., & Wei X. (2022). The impact of social support on the quality of life among older adults in China: An empirical study based on the 2020 CFPS. Front. Public Health, 10(914707), 1-12.
World Health Organization. (1997). Programme on mental health: WHOQOL Measuring quality of life. Geneva: WHO.