ปัจจัยความสำเร็จของชุมชนแห่งหนึ่งในการป้องกันการสูบบุหรี่ ในจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ[1]
งานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยความสำเร็จของชุมชนแห่งหนึ่งในการป้องกันการสูบบุหรี่ ในจังหวัดพิษณุโลก” เป็นการศึกษาวิจัยและดำเนินโครงการพัฒนาชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การติดบุหรี่และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพิษณุโลก และศึกษาปัจจัยความสำเร็จของชุมชนแห่งหนึ่งในการป้องกันการสูบบุหรี่ ในจังหวัดพิษณุโลก เพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินการป้องกันการสูบบุหรี่ จังหวัดพิษณุโลก การเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group Interview) ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มตัวอย่าง คือการสุ่มตัวอย่าง โดยการเจาะจงชุมชนที่สามารถป้องกันการสูบบุหรี่ให้แก่ชุมชนอื่น ได้แก่ ชุมชนบ้านเขาสมอแคลง ชุมชนบ้านไทรงาม ชุมชนบ้านท่าขอนเบน ชุมชนบ้านป่าคาย และชุมชนหนองปอ ในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 5 ชุมชนๆ ละ 12 คน เก็บในลักษณะเจาะจงกับผู้ที่สมัครใจในการให้สัมภาษณ์และมาเข้าร่วมกิจกรรมกับทางโครงการฯ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสังเกตลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ใช้วิธีการการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์เนื้อหาข้อมูล และรายงานตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้จากการดำเนินการเก็บข้อมูลชุมชนและดำเนินข้อมูลปัจจัยความสำเร็จของชุมชนแห่งหนึ่งในการป้องกันการสูบบุหรี่ (Key Success Factor) การบริหารจัดการ ปัญหา/อุปสรรค จุดที่ทำได้และจุดที่ทำไม่ได้ การจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ แนวทางแก้ไขปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้ชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมการเลิกบุหรี่โดยมีตัวช่วยและวิธีการต่างๆ การติดตามเยี่ยมให้กำลังใจผู้บริโภคยาสูบและครอบครัวอย่างต่อเนื่องโดยทีมอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเพื่อนช่วยเลิก การถอดบทเรียนตลอดจนการยกย่องชื่นชม เชิดชูบุคคลต้นแบบที่สามารถเลิกได้สำเร็จ การมอบรางวัล การจัดทำนวัตกรรมปฏิทินให้ความรู้ เคล็ดลับ และคำพูดสร้างแรงบันดาลใจ การให้บริการคลินิกเชิงรุกในชุมชน ที่พร้อมให้คำแนะนำปรึกษาและคำแนะนำในการเลิกบุหรี่ทำให้ชุมชนตระหนักและเกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับลดการบริโภคยาสูบโดยการมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการที่มีความเหมาะสมนำรูปแบบไปใช้จริงได้ในพื้นที่ โดยยึดความต้องการของชุมชนเป็นหลัก โดยดูความพร้อม ซึ่งจะนำไปสู่การลดละเลิก ยาสูบในชุมชน
คำสำคัญ: ปัจจัยความสำเร็จ, ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย, พัฒนาชุมชน, การมีส่วนร่วม
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต. (2562). รายงานประจำปี. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี.
มลทา ทายิดา และสุรินธร กลัมพากร. (2552). ศึกษารูปแบบการพัฒนาชุมชนปลอดบุหรี่ต้นแบบในอำเภอ ทุ่งฝง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล, 60 (1),.
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. (2561). ถอดบทเรียนการพัฒนาและสนับสนุนให้ อสม. มีสมรรถนะในการช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่. มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). รายงานเบื้องต้นการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากร : โรงพิมพ์สำนักงานสถิติแห่งชาติ.