การเสริมสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากกกโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

โสรฌา เครือเมฆ
รุจิราภา งามสระคู
ชุติมา สังคะหะ
พรสิน สุภวาลย์
อักษร สวัสดี

บทคัดย่อ

          ตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เป็นชุมชนที่มีการปลูกต้นกกและนำมาทอเสื่อซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มเสื่อกกที่ทำอาชีพทอเสื่อ และต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากต้นกกที่สะท้อนอัตลักษณ์ของบ้านท่าดินดำ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์จากกก 2) ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกกที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของชุมชน และ 3) ออกแบบป้ายสินค้าที่สื่อถึงอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน รูปแบบการวิจัยใช้แบบผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มเสื่อกกท่าดินดำ และผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาอาชีพทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชน จำนวน 10 ท่าน และกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภค จำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการเสริมสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์จากกก ประกอบด้วย ประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบใช้งานได้ทั่วไป และเข้ากับยุคสมัย เน้นรูปแบบการสานเพื่อสื่อถึงความเป็นงานฝีมือ ใช้สีเหลือง สีดำ ซึ่งเป็นสีประจำโรงเรียนบ้านท่าดินดำ ร่วมกับกกสีธรรมชาติ และการสร้างป้ายสินค้า ทำการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ที่ใส่แก้ว หมวก กระเป๋าสานจากกก และกระเป๋าสะพายจากเสื่อกก ทั้งนี้ผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการออกแบบ ด้านราคา และ ด้านประโยชน์ใช้สอย อยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกผลิตภัณฑ์ ส่วนการออกแบบป้ายสินค้าได้นำแนวคิดเกี่ยวกับลายการทอเสื่อ ต้นกก สี แบบตัวอักษร และภาพคลื่นน้ำ มาจัดองค์ประกอบได้ป้ายสินค้าที่สื่อถึง
อัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากกกชุมชนท่าดินดำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยทุนทางวัฒนธรรม ชุมชนวิถีบวก กลุ่มทอเสื่อบ้าน

ท่อนใหม่ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารศิลปกรรมศาสตร์. 11 (2), 285-304.

ชาตรี บัวคลี่. (2561). การออกแบบและพัฒนาฉลากสินค้า ด้วยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. วารสารวิจิตรศิลป์. 9 (2), 93-144.

ที่ประชุมอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา http://rdi.bru.ac.th/2018/wp-content/uploads/2020/08/.pdf.

พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ. (2556). กลยุทธ์สำหรับธุรกิจแฮนเมด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา https://phongzahrun.wordpress.com/2013/05/20/ -handmade.

พัชรา ปราชญ์เวทย์, ญาณิศา ศรีบุญเรือง, พัฒนพงษ์ โพธิปัสสา และ จันทนา จินดาพันธ์. (2562). การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกและต้นไหลในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายสู่ตลาด ต่างประเทศ. วารสารวิชาการ. 13 (1), 94-103.

พิกุล พุทธมาตย์. (2556). การออกแบบผลิตภัณฑ์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา https:// https://www.gotoknow.org/posts/381986.

สรวงพร กุศลส่ง และ รสรินทร์ ขุนแก้ว. (2554). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากกระดาษใบมะขาม. รายงานการวิจัยทุนอุดหนุนจากงบแผ่นดิน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา http://plan.bru.ac.th/%E0%B8%A2 -2561-2580

สุปรีดา สุทธิสาร. (2563). คนลพบุรีทอเสื่อกก ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น เสริมรายได้ครัวเรือน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา https://www.technologychaoban.com/thai-local-wisdom/article_152496.

โสรฌา เครือเมฆ และชุติมา สังคะหะ. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากเครื่องจักสานไม้ไผ่ตกแต่งผ้าขาวม้าสู่พาณิชย์ ชุมชนวัฒนธรรมไทยเวียงคีรีวัน จังหวัดนครนายก. รายงานการวิจัยทุนอุดหนุนจากงบแผ่นดิน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

หงส์ไทย. (2561). ฉลากสินค้า ป้ายสินค้า สำคัญอย่างไร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566.แหล่งที่มา https://www.hongthai.co.th.

อรนุตฏฐ์ สุธาคำ และ ตรีชฎา สมฟอง. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตกรรมจักสานเชิงสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์ชุมชน ของกลุ่มจักสานบ้านป่างิ้ว ตำบลทาเหนือ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม. 4 (2), 22-38.