การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบด้วยแนวคิดเมตาคอกนิชันเพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับนักลงทุนหุ้นในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบด้วยแนวคิดเมตาคอกนิชันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับนักลงทุนหุ้นในประเทศไทย และศึกษาปัจจัย เงื่อนไข ของการใช้โปรแกรม ฯ ดังกล่าว โดยทำการศึกษากับกลุ่มนักลงทุนหุ้นรายใหม่จำนวน 7 คน ใช้ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การออกแบบการเรียนรู้ การทดลองตามการออกแบบการเรียนรู้ และ การประเมินการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหาพบว่านักลงทุนหุ้นมีความสามารถในการคิดเชิงระบบอยู่ในระดับความเข้าใจและการวิเคราะห์การลงทุน แต่ยังไม่สามารถเชื่อมโยงและสร้างแบบแผนความคิดได้ ซึ่งในขั้นการออกแบบการเรียนรู้ผู้วิจัยใช้แนวคิดเมตาคอกนิชัน ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง ซึ่งมีแผนการเรียนรู้จำนวน 10 แผน ผลการทดลองตามการออกแบบการเรียนรู้พบว่า นักลงทุนมีความสามารถในการคิดเพิ่มขึ้นในทุกด้าน โดยมีปัจจัยความสำเร็จ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านผู้เรียน ผู้สอน กิจกรรม เนื้อหา ระยะเวลา มีความเหมาะสม ส่วนเงื่อนไขของการนำโปรแกรมไปใช้ด้านผู้เรียน ต้องทุ่มเทและตั้งใจ ด้านผู้สอน ต้องเข้าใจผู้เรียนและถ่ายทอดความรู้ให้เข้าใจง่าย ด้านระยะเวลา ต้องมีความยืดหยุ่นและให้เวลาผู้เรียนอย่างเต็มที่ เงื่อนไขด้านแหล่งความรู้และสื่อการสอน ควรมีความหลากหลายและเข้าถึงได้ง่าย เงื่อนไขด้านการวัดและประเมินผล ต้องใช้การประเมินแบบ 360 องศา
Article Details
References
กันยารัตน์ ศรีวิสทิยกุล. 2558. รูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ด้วยเลิร์นนิงออปเจ็กต์ เพื่อการสร้างความรู้ด้วยตนเอง. เอกสารนำเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จุฑา เทียนไทย. (2548). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: , มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จุไร อภัยจิรรัตน์. (2555). ผลของวิธีสอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อยต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองวิชาการพยาบาลเด็กของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 5 (1), 19-31.
สุรเดช จองวรรณศิริ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของนักลงทุนบุคคล. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9 (3), 1094-1107.
เดอ โบโน, เอ็ดเวิรด์. (2536). หมวก 6ใบ คิด 6 แบบ : Six Thinking Hats. นุชรีย์ ชลคุป แปลและเรียบเรียง กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
นลินทิพย์ พิมพ์กลัด. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบองค์รวม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 12 (2), 92-105.
ศุภชัย ศรีสุชาติ. (2550). ตลาดหุ้นในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อนุรุทธิ์ กามิด. (2541). ลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมการลงทุนและพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลข่าวสารและการเปิดรับสื่อของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรรัตน์ เฉยงาม. (2550). การศึกษากระบวนการเมตาคอกนิชันผ่านการสื่อสารด้วยเว็บล็อกในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโสตทัศนศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Boone. (1985). Developing program in adult education. Illinois: Waveland Press.
Boyle, Patrick, G. 1981. Planning Better Program. New York: Mc Graw Hill Book Company.
Caffarella, R. (1994). Planning program for adult learners. San Francisco: Jossey-Bass.
C., Kriengsak. (2019). Analytical thinking. Bangkok.
Elder, L., & Paul, R. (2010). The Thinker’s Guide to Analytic Thinking. Dillon Beach, CA: The Foundation of Critical Thinking.
Justice, C., Rice, J., Roy, D., Hudspith, B., and Jenkins, H. (2009). Inquiry-based learning in higher education: adminitrators’ perspectives on integrating inquiry pedagogy in to cirricurum. Higher Education. 58, 841-855.
King R. (2017). System Thinking in Investing. Online. https://moiglobal.com/systems-thinking-in-investing, April 19, 2021.
Knowles, M. S. (1980). The Modern practice of Adult education: From pedagogy to andragogy. New York: Cambridge Books.
Marton, F. and Booth, S. (1997). Learning and Awareness. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates
Senge, P. (1993). The fifth discipline: The art & practice of learning organization. London: Century Business.
Sweeney. (1996). Thinking about systems: “student and teacher conceptions of natural and socialsystems.” System Dynamics Review. 23 (2-3), 285-311.
Tingsa, C., Jaigla, A., Tamuang, S. and Supasorn, S. (2018). Twelfth Grade students’ achievement and problemsolving ability on properties and reactions of organic compounds from learning by using inquiry incorporated with problem-based learning (in Thai). Journal of Science and Science Education. 1 (1), 97-108.
Woolfolk Hoy, A., and Hoy, W. K. (1990). “Prospective teachers’ sense of efficacy and beliefs about control.” Journal of Educational Psychology. 82 (1), 81-91.