รูปแบบการพัฒนาวิถีชีวิตแบบพอเพียงของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การพัฒนาวิถีชีวิตแบบพอเพียงของครู 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาวิถีชีวิตแบบพอเพียงของครู 3) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาวิถีชีวิตแบบพอเพียงของครู และ 4) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาวิถีชีวิตแบบพอเพียงของครู เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การพัฒนาวิถีชีวิตแบบพอเพียงของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์กลุ่มเป้าหมายยืนยันองค์ประกอบเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน 2) ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาวิถีชีวิตแบบพอเพียงของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์เป็นผู้บริหารสถานศึกษา 132 คน ครูผู้สอน จำนวน 345 คน รวมกลุ่มตัวอย่างจำนวน 477 คน 3) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาวิถีชีวิตแบบพอเพียงของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมายในการประชุมวิพากษ์ร่างรูปแบบเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน 40 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการยืนยันรูปแบบ 10 คน และ 4) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาวิถีชีวิตแบบพอเพียงของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นครู 40 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดของผู้เรียนด้านสุขภาวะระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวม 4 องค์ประกอบ 45 ตัวบ่งชี้ ที่ผ่านการยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 2) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการพัฒนาวิถีชีวิตแบบพอเพียงของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาวิถีชีวิตแบบพอเพียงของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดจัดเรียงลำดับความสำคัญดัชนีของความต้องการจำเป็น อยู่ระหว่าง 0.32-0.49 3) ผลจากการสร้างรูปแบบการพัฒนาวิถีชีวิตแบบพอเพียงของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษาบุรีรัมย์ มี 6 ส่วนประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการพัฒนา 5) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินรูปแบบคู่มือและเอกสารประกอบการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 4) ผลจากการทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบของการพัฒนาวิถีชีวิตแบบพอเพียงของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์พบว่าความรู้ความเข้าใจหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาผลการประเมินพฤติกรรมพอเพียงหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและผลการประเมินความพึงพอใจของครูต่อรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
ณรงค์ ภูเยี่ยมจิตร. (2560). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สังกัดกองบัญชาการตารวจภูธรภาค 3. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ดาว ชุ่มตะขบ. (2563). เศรษฐกิจพอเพียง ทางเลือก ทางรอดฝ่าวิกฤตโควิด-19. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา. 2 (3).
นราทิพย์ ผินประดับ และกมลาศ ภูวชนาธิพงศ์. (2563). แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 6 (1), 281-393.
นรีรัตน์ ทับทองกุล และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12 (2) , 335-353.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องตน (พิมพครั้งที่ 9). กรงเทพมหานคร: สุวิริยาสาสน.
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2555). สิ่งแวดล้อมศึกษาในยุโลกร้อน=Environmental education for the age of global warming. พิษณุโลกดอทคอม. พิษณุโลก.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปี 2562. บุรีรัมย์: กลุ่มนโยบายและแผนฯ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี 2564. บุรีรัมย์: กลุ่มนโยบายและแผนฯ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: กลุ่มคุ้มครองจริยธรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
เสกสรรค์ เผ่าพันธุ์พิพัฒน์. (2560). การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. วิทยาลัยการทัพบก.
จิรายุ อิศรางกูล ณ อยุธยา และ ปรียานุช ธรรมปิยา. (2562). ตามรอยพ่อ...ชีวิตที่พอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร ออล ปริ้นเซนเตอร์ จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 16.
อรวรรณ ป้อมดำ. (2561). การขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการในโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สพฐ. ปีงบประมาณ 2561.