ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลจังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปประกอบด้วยเพศ อายุ การศึกษา ความรู้และ ทัศนคติของประชาชนในการตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลของชุมชน และ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนในการก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลของชุมชนใน 3 ประเด็น ได้แก่ ความแตกต่างระหว่างเพศ อายุและกลุ่มอาชีพ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ ประชาชนในจังหวัดเพชรบุรีจำนวน 406 คน จากการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) โดยไม่มีหลักเกณฑ์ใน 8 อำเภอ คำนวณจากสูตรของทาโรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือ แบบสอบถามที่ใช้มาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยเก็บรวมรวมข้อมูลจากประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อศึกษาทัศนคติและความรู้ของกลุ่มตัวอย่างและนำเสนอการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ระหว่างเพศ อายุและอาชีพกับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล
ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติโดยรวมทุกประเด็นของประชาชนเกี่ยวกับก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลในจังหวัดเพชรบุรีอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 4.07) สำหรับค่าเฉลี่ยความรู้ของประชาชนเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าชีวมวลส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับต้นทุนในการผลิตพลังงานโดยประชาชนร้อยละ 89.4 รู้ว่ามีต้นทุนการผลิตพลังงานที่ถูกกว่ารูปแบบอื่น ร้อยละ 96.1 รู้ว่าวัสดุเหลือทางการเกษตร เช่น ตอซัง ฟางข้าว เศษไม้ สามารถนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตได้ ร้อยละ 83.7 ร้อยละ 96.1 รู้ว่าการก่อตั้งโรงไฟฟ้าควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบและไม่ควรก่อสร้างโรงไฟฟ้าใกล้กับชุมชนหรือที่พักอาศัย ร้อยละ 89.2 รู้ว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลมีวิธีการในการลดปัญหาฝุ่นละอองและก๊าซมลพิษต่าง ๆ ได้ โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นพลังงานทางเลือก เป็นพลังงานสะอาดและช่วยลดปัญหาความขาดแคลนพลังงานคิดเป็นร้อยละ 97.3 96.6 และ 98.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามควรมีการจัดเวทีเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนในทุก ๆ ประเด็น
Article Details
References
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2527). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ภาควิชาแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
โกวิทย์ พวงงาม. (2545). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของประชาชนในการมีส่วนร่วมต่อการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ. รายงานการวิจัย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร: กรุงเทพฯ.
สมศักดิ์ เจริญผล. (2542). ความคิดเห็นของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนบุคคลที่มีต่อศักยภาพในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตําบล : ศึกษากรณีรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาตร์). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
แหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับพลังงานชีวภาพ. (ม.ป.ป.). ประโยชน์ และข้อดีของโรงไฟฟ้าชีวมวล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา https://www. bioenergyfields.org/โรงไฟฟ้าชีวมวล-2/.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.
The Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). (2006). 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories. Online. Retrived June 15, 2022. From : http://www.ipcc.ch.