การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางการท่องเที่ยวด้วยนวัตกรรม เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ทรัพยากรท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย 2) เสนอการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางการท่องเที่ยวของชุมชนหนองย่างเสือด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ทรัพยากรท้องถิ่น และ 3) เสนอกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางการท่องเที่ยวของชุมชนหนองย่างเสือด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ทรัพยากรท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทย และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนหนองย่างเสือ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์สารระบบ ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีประสบการณ์การซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางการท่องเที่ยวนิยมซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการบริโภค โดยซื้อเพื่อเป็นของฝากและตัดสินใจซื้อด้วยตนเองจากการพิจารณาบรรจุภัณฑ์ ราคาและรสชาติของผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังทราบว่านักท่องเที่ยวนิยมซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวหรือศูนย์รวมของฝาก จากการวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนและประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของชุมชน พบว่า กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสม คือ 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากมัลเบอร์รี่และน้ำนมโค 2) การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเชื่อมโยงกับเส้นทางหลักจากเขาใหญ่ 3) การเพิ่มช่องทางออนไลน์เพื่อการจัดจำหน่ายและติดต่อกับกลุ่มตลาดใหม่ 4) การจัดอบรมเสริมสร้างความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดออนไลน์ 5) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากคู่แข่ง และ 6) การพัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรให้มีความเป็นผู้ประกอบการ ทั้งนี้คณะผู้วิจัยพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางการท่องเที่ยว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เจลลี่กัมมี่มัลเบอร์รี่โยเกิร์ต ด้วยเทคนิคอาหารโมเลกุล เทคโนโลยีการหมัก และนวัตกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์
Article Details
References
กรมการท่องเที่ยว. (2561). มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2566. แหล่งที่มา https://www.mots.go.th/news/category/655.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและการกีฬา. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปี 2564. Tourism Economic รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว Review, 3(1), 26-49.
กฤษดากร เศรษฐเสถียร. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของที่ระลึกของนักท่องเที่ยวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กิตติกรณ์ บำรุงบุญ และปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคามเพื่อยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(2), 7-24.
กิติยา คีรีวงก์, วรรณวิสา ไพศรี และอรจิต ชัชวาล. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยจูงใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก บ้านผาฆ้อง ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(2), 68-85.
จิตพนธ์ ชุมเกต. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ซาฟุเราะห์ สาเฮาะ. (2558). การรับรู้ภาพลักษณ์สินค้าของที่ระลึกจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ฐิญาภา เสถียรคมสรไกร, พิมพ์สิรี สุวรรณ, นวพร ลาภส่งผล, ธนภูมิ อติเวทิน และไกรศักดิ์ พิกุล. (2564). โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสุขภาพและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาอาหารสุขภาพในพื้นที่ตำบลหนองย่างเสือ จังหวัดสระบุรี. คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณัฏฐกฤติ นิธิประภา. (2564). บทวิเคราะห์สถานการณ์ MSME สาขาธุรกิจท่องเที่ยว ปี 2564 และแนวโน้มปี 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา https://www.sme.go.th/
upload/mod_download/download-20211012232619.pdf
ณัฐอร เบญจปฐมรงค์ และชุติกา เกียรติเรืองไกร. (2565). การเปลี่ยนแปลงภาคการท่องเที่ยวไทยกับก้าวต่อไปหลังเปิดประเทศ. BOT พระสยาม Magazine, 2565(3), 34-37.
เบญจพร เชื้อผึ้ง, วัชรวิชญ์ วิยาภรณ์, หงสกุล เมศนุกูล และคณะ. (2565). แนวทางการพัฒนาศักยภาพสินค้าของฝากและของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 17(1), 19-33.
พชรพจน์ นันทรามาศ, กิตติพงษ์ เรือนทิพย์ และจารุวรรณ เหล่าสัมฤทธิ. (2563). เจาะพฤติกรรมท่องเที่ยวใน New Normal: เมื่อโควิดทำชีวิตเปลี่ยน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา https://www.mots.go.th/news/category/655.
พลอยจันทร์ สุขคง. (2565). ททท. เปิดแผนปี 66 เน้นพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสร้างคุณค่าสู่ High Value & Sustainable Tourism. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา https://thestandard.co/tat-2023-plan/.
พัชรัมภา ม่วงมุลตรี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
พิมพ์อมร นิยมค้า. (2564). การพัฒนาสินค้าที่ระลึกผ้าทอมือย้อมครามเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครสกลนคร. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 8(2), 76-89.
มัสลิน วุฒิสินธุ์. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางเลือกแบบผสมผสานในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนตำบลท่าข้าม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(2), 439-450.
วริษฐา ประจงการ และสุชานัน จุนอนันตธรรม. (2564). Tourism at a crossroad: อนาคตภาคการท่องเที่ยวไทย เดินต่ออย่างไรในฟ้าหลังฝน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2566. แหล่งที่มา https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_18Aug2021.pdf
สิริชนก อินทะสุวรรณ์ และอรณิช สาครินทร์. (2562). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ระลึกของนักท่องเที่ยวในเขตย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลา. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 1(2), 79-86.
สุภาพร วิชัยดิษฐ์. (2559). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวชาวไทย : กรณีศึกษา เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 166-179.
สุวภัทร ศรีจองแสง. (2561). การพัฒนาสินค้าที่ระลึกทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบากชุม ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 20-47.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อรณี บุญมีนิมิต. (2540). พฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ระลึกของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Marketeeronline. (2020). โควิด-19 ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคและทัศนคติที่มีต่อแบรนด์อย่างไร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา https://marketeeronline.co/
archives/176416.
Chanin Yoopetch. (2017). The determinants of souvenir shopping satisfaction of international tourists. Panyapiwat Journal, 9, 1-13.
Hugh, W. (2011). Souvenirs: What and Why We Buy. Journal of Travel Research, 1-30.
Lacher, R. G., & Nepal, S. K. (2011). The Economic Impact of Souvenir Sales in Peripheral Areas A Case Study from Northern Thailand. Tourism Recreation Research, 36(1), 27-37.
Marzouki, S. Y. (2020). Studying the Vital Role of Souvenirs Industry as an Essential Component of Tourist Experience: A Case Study of the United Arab Emirates (UAE). Journal of Tourism,Hospitality and Sports, 46, 24-33.