การยอมรับรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1). เพื่อศึกษาระดับการยอมรับรถยนต์ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร
2.) เพื่อเปรียบเทียบการยอมรับรถยนต์ไฟฟ้าจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3.) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้ากับการยอมรับรถยนต์ไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test)
การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครมีความคิดเห็นต่อการยอมรับรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นต่อการยอมรับรถยนต์ไฟฟ้า ทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความง่ายในการใช้งานและด้านประโยชน์ในการใช้งาน อยู่ในลักษณะเห็นด้วยมาก โดยปัจจัยส่วนบุคคล
ของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ เขตที่พักอาศัย เขตที่ทำงาน ประเภทที่พัก รูปแบบการเดินทาง
ที่ใช้ประจำ และประสบการณ์การมีคนรู้จักใช้รถยนต์ไฟฟ้า ส่งผลต่อการยอมรับรถยนต์ไฟฟ้าไม่แตกต่างกัน ยกเว้นประสบการณ์การทดลองขับรถยนต์ไฟฟ้าที่แตกกต่างกัน ส่งผลต่อการยอมรับรถยนต์ไฟฟ้าแตกต่างกัน และ
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ มาตรการสนับสนุนจากทางภาครัฐ การประชาสัมพันธ์ สถานี
อัดประจุไฟฟ้า ราคา ระยะทาง ชื่อเสียงของบริษัท และบริการหลังการขาย มีความสัมพันธ์กับการยอมรับ
รถยนต์ไฟฟ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
ธนเดช สุวรรณโชติ, และ พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2564). คุณลักษณะของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26 (1), 67-78.
เพิ่มสกุล พูลมา, และ บดินทร์ รัศมีเทศ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้รถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26 (4), 74-89.
วรลักษณ์ พงษ์พูล. (2563). กระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของคนทำงาน ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 1-15.
ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์, รุ่งนภา โอภาสปัญญาสาร, และคณะ. (2562). การวิเคราะห์พฤติกรรมการยอมรับ
ยานยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค. รายงานการวิจัย. คณะเศรษฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันยานยนต์. (2564). รัฐบาล เร่งเป้าผลิต EV เร็วขึ้น หวังยอดสะสมปี 2578 แตะ 18.4 ล้านคัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา : https://thaiauto.or.th/2020/th/ news/news- detail.asp?news_id=4969.
สรุจเทพ เผื่อนงูเหลือม. (2561). การศึกษาการยอมรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน). ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา : https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/ statMONTH/statmonth/#/mainpage.
อรรถสิทธิ์ แจ่มฟ้า. (2561). รถยนต์ไฟฟ้ากับอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2565.
แหล่งที่มา : https://www.gsbresearch.or.th/wpcontent/uploads/2018/03/16IN_hotissue _car_ electronic_detail.pdf.
Soni, A. (2563). Driving Green: employment effects, policy adoption, and public perceptions
of electric vehicles. Doctoral dissertation of Philosophy in Public Policy. Georgia State University and Georgia Institute of Technology.
Tu, J. And C. Yang. (2562). Key Factors Influencing Consumers’ Purchase of Electric Vehicles. Sustainability. 11 (3863), 1-22.