สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอน รายวิชาเวชนิทัศน์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

Main Article Content

รุ่งรัตน์ ผลสวัสดิ์
พิสิทธิ์ ไข่แก้ว

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาเวชนิทัศน์ เพื่อประเมินความต้องการจำเป็น และเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอน ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรายวิชา 3 ท่าน และนักศึกษา รวม 4 ท่าน สถิติที่ใช้ในกาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการเรียนการสอนรายวิชาเวชนิทัศน์ที่มีต่อความคาดหวังทักษะการเรียนรู้กระบวนการศิลปะ ศิลปะบำบัด ทักษะในการใช้โปรแกรมการนำเสนอ ตัดต่อ และสร้างสื่อทางการแพทย์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ความรู้แก่ประชาชนและประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งนักศึกษาทั้งสองสาขาเห็นพ้องว่ารายวิชานี้มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ ได้มีโอกาสทดลองปฏิบัติและนำไปปรับใช้ได้จริง แต่อย่างไรก็ดี ยังขาดความพร้อมด้านห้องเรียน ทรัพยากรสารสนเทศและเทคโนโลยี สภาพห้องเรียนนั้นไม่เหมาะสมในการทำกิจกรรมกลุ่มย่อย 2) นักศึกษาให้ความสำคัญทักษะการผลิตสื่อทางการแพทย์เป็นลำดับแรก โดยทักษะการวาดภาพด้วยมือมากที่สุด รองลงมาคือ ทักษะกระบวนการใช้ศิลปะบำบัดถ่ายทอดความรู้สึก และทักษะการวาดภาพประกอบตำราและบทความทางการแพทย์ 3) จากผลการวิจัยในครั้งนี้การพัฒนาทักษะที่นักศึกษาสนใจสามลำดับแรกข้างต้น ซึ่งไม่ต้องใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีมากเท่ากับการเรียนรู้ครบทั้ง 7 ทักษะ ซึ่งทำให้นักศึกษามีเวลาฝึกฝนเกิดความชำนาญเป็นอย่างดี คล่องแคล่ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชิษณุ พันธุ์เจริญ. (2555). แนวคิดในการสื่อสารด้านบริการทางแพทย์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 56 (4), 748-760.

ภรไพรินทร์ ฉายารักษ์. (2562). สภาพที่เป็นจริงตามการรับรู้และความคาดหวังของนักศึกษาแพทย์ที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 63 (2), 107-118.

รัตนา ปฏิสนธิเจริญ, จตุพล ยงศร, และจักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2563). การประเมินความต้องการจำเป็น ทักษะการทำงานแห่งอนาคตสำหรับนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (6), 2377-2391.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/258/T_0001.PDF.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา).

Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., and Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. Vol. Handbook I: Cognitive domain. David McKay Company.

Amanda D. (2020, December 3). Drawing differently: How medical illustrations can impact your diagnosis. https://www.tapssupport.com/blog/2020/12/03/drawing-differently/