การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ใช้การวิจัยผสานวิธี มี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสรุปกรอบปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย โดยใช้แบบสอบถามซึ่งได้พัฒนาขึ้นกรอบปัจจัยที่ได้จากการวิจัยขั้นตอนที่ 1 จากตัวอย่างจำนวน 400 คนซึ่งได้มาการคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ
ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ได้แก่ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผู้สนับสนุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และเทคโนโลยี 2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย พบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ประกอบด้วย ปัจจัยนโยบายและการวางแผน มี5 ตัวชี้วัด ปัจจัยงบประมาณมี 4 ตัวชี้วัด ปัจจัยการบริหารจัดการ มี 6 ตัวชี้วัด ปัจจัยการสนับสนุนและสวัสดิการการกีฬา มี 5 ตัวชี้วัด ปัจจัยการคัดเลือกและเตรียมความพร้อมนักกีฬา มี 6 ตัวชี้วัด ปัจจัยการฝึกซ้อมและการแข่งขัน มี 5 ตัวชี้วัด ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ประกอบด้วย ปัจจัยเศรษฐกิจและสังคม มีตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด ปัจจัยสังคมวัฒนธรรม มีตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด และ ปัจจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพหมหานคร: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คมพล สุวรรณกูฏ.(2560). การวิจัยเชิงคุณภาพทางสังคมศาสตร์เบื้องต้น. จันทบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2561). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพหมหานคร: อมรการพิมพ์.
ตระการ นาคง ประภาส ฤกษ์พิบูลย์ และรัชนี ขวัญบุญจัน. (2562).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของ
นักกีฬา วอลเลย์บอลหญิงในประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา. 11 (2), 63-77.
ปัญญา อินทเจริญ รังสฤษฏ์ จำเริญนภพร ทัศนัยนาและ ไพโรจน์ สว่างไพร. (2564). แนวทางการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของทีมวอลเลย์บอลที่เข้าร่วมการแข่งขันในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. 13 (1), 100-110.
ปัญญา อินทเจริญ สุนันทา ศรีศิริ และอุษากร พันธุ์วานิช. (2563). รูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5 (5), 172-175
ไรแมน บุญถม.(2557). รูปแบบการพัฒนานักกีฬามวยสู่นักกีฬามวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา. 6 (2), 97-112.
ลัดดา เรืองมโนธรรม และสืบสาย บุญวีรบุตร (2559).ปัจจัยและแนวทางการพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ : แบบจำาลองประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 17 (1), 35-48
ไวพจน์ จันทร์เสม .(2558). วิทยาศาสตร์การกีฬากับการพัฒนาการกีฬา. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา. 7 (1), 235-239.
หนึ่งฤทัย สระทองเวียน (2561). รูปแบบการพัฒนากีฬาฟุตบอลหญิงของประเทศไทย.วารสารวิชาการ สถาบัน
การพลศึกษา. 10 (2), 77-92
อัศวิน จันทรสระสมและกรรณิการ์ อินชะนะ (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความสำเร็จของนักกีฬาที่เข้าร่วมการ
แข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีค 2021. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 7 (2), 74-84.
Best, J.W.,& Kahn, J.V. (2014). Research in Education. (10th Ed.). Harlow England: Pearson Education.
Cserháti & Polák-Weldon.(2013).Success factors of international sporting events in different
regions of Europe.Applied Studies in Agribusiness and Commerce (APSTRACT). 7 (1), 25-29
Eisinga,R., Te Grotenhuis, M., & Pelzer, B. (2012). The reliability of a two-item scale: Pearson, Cronbach or Spearman-Brown. International Journal of Public Health, 58 (4),637-642.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E. and Tatham, R.L. (2010), Multivariate Data Analysis (7th ed.), Pearson-Prentice Hall, New York.
Krsmanovic, S., Brankovic, M., & Radosevic, I. (2014). Human resources-main factor in the development of sports. Activities in Physical Education and Sport, 4 (1), 84-86.
Peake, R. & Davies, L.E.(2022). International sporting success factors in GB para-track and
field. Managing Sport and Leisure (in press).
Ramos, R.(2017). Critical factors influencing international sporting success of the philippines: The athletes’ perspective. Asia Pacific Journal of Sport and Social Science. 6 (2), 143-
Ronna CT. & Laurie C. (2003). Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. International Journal of Testing. 3(2), 163-171.
Teshome, Z., Wolde, B., Abrham, T., & Tadesse, T. (2022). Evaluating the practices and challenges of youth volleyball development in Amhara regional State, Ethiopia by using the CIPP model. Healthcare, 10, e719
Valenti, M., Scelles, N. & Morrow, S. (2020). Elite sport policies and international sporting success: a panel data analysis of European women’s national football team performance. European Sport Management Quarterly, 20 (3), 300-320.