การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทางการศึกษากับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม

Main Article Content

ภานุพันธ์ จินาวรณ์
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์
จารุวรรณ เขียวน้ำชุม

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทางการศึกษา จำแนกตามสถานภาพ และระดับการจัดการศึกษาของโรงเรียน 2) ศึกษาและเปรียบเทียบการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจำแนกตาม สถานภาพ และระดับการจัดการศึกษาของโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทางการศึกษากับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและ 4)  ศึกษาอำนาจพยากรณ์การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่ส่งผลต่อการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 175 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .972 และ .944
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ และระดับการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          2. การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จำแนกตามสถานภาพ และระดับการจัดการศึกษาของโรงเรียนโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ และระดับการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
           3. การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทางการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในระดับสูงอย่างนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          4. ตัวแปรการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่ร่วมส่งผลต่อการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มี 2 ตัวแปร คือ ยุทธศาสตร์ที่ 6 และ ยุทธศาสตร์ที่ 2 โดยร่วมกันพยากรณ์การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ร้อยละ 64.60


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ และคณะ. (2564). กลยุทธ์การขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการศึกษาในระดับพื้นที่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี. 15 (2), 33–43, พฤษภาคม–สิงหาคม 2564.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2558). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

เนาวรัตน์ ตรีไพบูลย์. (2559). ภาวะผู้นำเชิงปริวรรตเพื่อการจัดการศึกษาและการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญศรี พรหมมาพันธ. (2561). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการใช้สหสัมพันธ์และการถดถอยในการวิจัย Techniques for Data Interpreting for Using Correlation and Regression in Research. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 11 (1), 32–45.

ประยูรศรี บุตรแสนคม. (2555). การคัดเลือกตัวแปรพยากรณ์เข้าในสมการถดถอยพหุคูณ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17 (1), 43–60.

วชิระ พลพิทักษ์. (25563). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ในจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สมนึก ภัททิยณี. (2565). การวัดผลการศึกษา Educational measurement. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.

สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2555). การเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดสอบรวมเพื่อการวิจัย (Priori and Posteriori Comparisons for a Research Study). ภาษาปริทัศน์, 52–68.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แนวทางการจัดทำแผนระดับที่ 3 และการเสนอแผนระดับที่ 3 ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้าน...ต่อคณะรัฐมนตรี. มีนาคม 2564.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการวิจัย การพัฒนาการศึกษานานาชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560 ก). รายงานการสังเคราะห์ตัวชี้วัดด้านการศึกษาไทย ตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครพนม. (2564). แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2566 – 2570) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครพนม. ด่วนที่สุด ที่ นพ 0023.3/ว 400. 26 มกราคม 2564.

โสภณ วุฒิประเสริฐกุล. (2563). กลยุทธ์การบริหารมหาวิทยาลัยตามแนวคิดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ดุษฎีนิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.

Annika Manni and others. (2013). Perceived learning experiences regarding Education for sustainable development – within Swedish outdoor education traditions, NorDiNa. 9 (2), 187 – 205.

Dominic Maina Ndegwah. (2014). Factors Affecting the Implementation of Strategic Plans in Public Secondary Schools in Nyeri County, Kenya. International Review of Management and Business Research. 3 (2), 993 – 1002, June.

Krejcie, R.V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 607 – 610.

Mandy Singer-Brodowski, Nadine Etzkorn and Janne von Seggern. (2019).One Transformation Path Does Not Fit All—Insights into the Diffusion Processes of Education for Sustainable Development in Different Educational Areas in Germany. Sustainability, 1 – 17.

Thao Phuong Nguyen. (2019). Searching for education for sustainable development in Vietnam. Environmental Education Research, 1 – 13.

UNESCO. (2018). Education for sustainable development and the SDGs: Learning to act, learning to achieve. Advancing ESD Policy, January.

UNESCO. (2017. Education for Sustainable Development Goals: Learning Objectives. France, 1 – 62.