การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการเขียนเว็บเพจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการเขียนเว็บเพจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการเขียนเว็บเพจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการเขียนเว็บเพจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการเขียนเว็บเพจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน 27 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.40-0.60 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.25-0.49 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ 0.72 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ E1/E2 และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่าทีแบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการเขียนเว็บเพจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.74/82.31 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการเขียนเว็บเพจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการเขียนเว็บเพจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579.
กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
จตุพล บุญธรรม และ อรนุช ลิมตศิริ. (2565). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในวิชาพระพุทธศาสนา ที่เรียนโดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book). Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (12), 49-60.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาวิจัย. 5 (1), 7-19.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.
ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมิเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). หนังสือพูดได้. กรุงเทพมหานคร: ฐานบุ๊คส์.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2552). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาส์.
ศรราม สุขสำราญ และกรวิภา สรรพกิจจำนง. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การจัดการข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุดเทคโนโลยีการจัดการข้อมูล. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (3), 152-163.
อภิรักษ์ นาเมืองน้อย. (2564). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องซอฟต์แวร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการ
บริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7 (9), 195-205.
อัจฉรา เสาว์เฉลิม และจุฑามาศ บัตรเจริญ. (2562). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลักและวิธีสอนกระบี่กระบอง. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47 (2), 529-543.
Rao, Siriginidi S. (2004). Electronic Book Technologies: An Overview of the Present Situation.
Library Review. 53 (7), 363-371.
Vygotsky, L. (1978). Mind in society:The developmental of higher psychological process. Cambridge, MA: Harvard University Press.