ระบบการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

พุทธิพงษ์ สงวนนาม
กาญจน์ เรืองมนตรี

บทคัดย่อ

          การพัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้และคุณธรรม เป็นผู้มีจริยธรรมในการดำเนินชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขเป็นผู้ใฝ่รู้มีทักษะในการแสวงหาความรู้ที่เพียงพอต่อการพัฒนางานอาชีพ และคุณภาพชีวิต ซึ่งโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ทำให้การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ระบบการพัฒนาครู เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนมัธยมศึกษามีองค์ประกอบและตัวชี้วัดอะไรบ้าง 2. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของระบบการพัฒนาครู เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนมัธยมศึกษาระบบการพัฒนาครู เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอนคือ (1) วิเคราะห์สังเคราะห์ เอกสาร และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดองค์ประกอบใน การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของระบบการพัฒนาครู เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) สร้างตัวบ่งชี้หรือตัวแปรย่อยของ องค์ประกอบระบบการพัฒนาครู เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ละด้าน แล้วกำหนดค่าความเหมาะสมขององค์ประกอบ ในรูปแบบสอบถามประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และ(3) ตรวจสอบยืนยัน (Confirmatory) ความเหมาะสมขององค์ประกอบกับผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน โดยกำหนดองค์ประกอบของระบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนมัธยมศึกษา และ 3. ร่างระบบการพัฒนาครู เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนมัธยมศึกษา และให้ผู้เชี่ยวชาญอภิปรายกลุ่มและปรับระบบที่ได้ให้สมบูรณ์
          ผลการวิจัยพบว่า
          1.องค์ประกอบของระบบพัฒนาครู เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมี 1.องค์ประกอบ ด้านปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบ2. ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย 7 องค์ประกอบ 3. ด้านผลผลิต ประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบ 4. ด้านผลลัพธ์  (Outcome) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 1 องค์ประกอบ 5. ด้านข้อมูลป้อนกลับ
           2. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของระบบการพัฒนาครู เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนมัธยมศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมาก
          3. ได้ระบบการพัฒนาครู เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนาการวัดผลและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร สำนักวิชาการมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา. (2561). สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

คณะกรรมการ ป.ป.ช..ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 -

. นนทบุรี: สำนักงาน ป.ป.ช., 2560.

จักรกฤษณ์ สำราญใจ. (2551). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 25

ตุลาคม 2560. แหล่งที่มา: http://www.jakkrit.lpru.ac.th/pdf/27_11_44/9.pdf.

เฉลียว บุรีภักดี และคณะ. (2545). ชุดวิชาการวิจัยชุมชน. กรุงเทพมหานคร: เอส อาร พรินติ้ง. แมสโปรดักส์.

ฑิฆัมพร บุญมาก. (2558). การพัฒนาระบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. มหาสารคาม : มหาสารคาม

ณัฐชา แก้วเนตร. (2562). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา.วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนัตถ์พร โคจรานนท์. (2562). ระบบการบริหารจัดการโรงเรียนประถมศึกษาสู่องค์การสมรรถนะสูง.วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นริศ ภูอารม. (2560). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับเครือข่ายโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นิรัชกร ทองน้อย. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียน.ประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

แผนปฏิบัติงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงศึกษาธิการ 2560-2564.

สมจิต จันทร์ฉาย. (2557). การออกแบบและการพัฒนาการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ศิลปากร จุมพิษ. (2557). แนวทางการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการของนักเรียนโรงเรียนบ้านประคอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สุภาวดี อุตรมาตย์. (2557). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุริยา อรัญเฉวียง. (2559). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดศรีพโลทัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา

สุวิมล ว่องวาณิช. (2549). การวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.