การประเมินระบบและกลไกการควบคุมยาสูบตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560: คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ โดยการปรับแก้กฎหมายการควบคุมการบริโภคยาสูบให้มีความทันสมัย กฎหมายฉบับปัจจุบันคือพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีสาระสำคัญส่วนหนึ่งคือการบัญญัติให้มีคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับชาติและระดับจังหวัดเป็นกลไกของระบบการขับเคลื่อนการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินผลระบบและกลไกการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานภาคีเครือข่ายสนับสนุนการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการวิเคราะห์เอกสารรายงานการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2563–2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อค้นพบมีดังนี้
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบ 5 ด้านของระบบการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของกรุงเทพมหานครมีองค์ประกอบดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อมประกอบด้วย แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ และกิจกรรมสนับสนุนการปฏิบัติการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ด้านปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ แผนปฏิบัติการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการสนับสนุนทรัพยากรสำหรับการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ด้านกระบวนการประกอบด้วย การบริหารการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ด้านผลผลิตประกอบด้วย ผลการประเมินความสำเร็จตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และด้านข้อมูลป้อนกลับประกอบด้วย ข้อมูลผลการประเมินและแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2) กลไกคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบประกอบด้วยการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ 3) ความสำเร็จในระดับผลผลิตของการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบประสบผลอยู่ในระดับสูง โดยมีแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่สามารถใช้เป็นบทเรียนสำหรับยกระดับความสำเร็จ
Article Details
References
จอมขวัญ โยธาสมุทร, พิมพรรณ ลาภเจริญ และณัฐธิดา มาลาทอง. (2561). รายงานการทบทวนระบบและกลไกการติดตามและประเมินการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศต่างๆ โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านสุขภาพโลกของประเทศไทย. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊ค พอยท์.
จรุณรักษ์ ยี่ภู่, อุษา คงทอง และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2561). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดละเลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่สำหรับผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 131-146.
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2558). กฎหมายและนโยบายการควบคุมยาสูบอย่างครอบคลุม. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 1(3), 254-271.
บดินทร์ภัทร์ สายบุตร. (2562). กระบวนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามวงจร PDCA ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 39-53.
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560. (2560, 5 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 39 ก.
ณัฐนียา ห้องกระจก. (2562). แนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจรคุณภาพ PDCA ของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วิทยา เกริกศุกลวณิชย์. (2557). กระบวนการเชิงระบบในการกำกับติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริชัย นามบุรี. (2015). ความหมายของคำว่าระบบและกลไก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2021. แหล่งข้อมูล: https://groups.google.com/a/yru.ac.th/g/qa-yru/c/mD1yLw8n-9g
สิริกร นามลาบุตร และวรานิษฐ์ ลำใย. (2561). การประเมินประสิทธิผลของมาตรการระดับประเทศด้านสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ในจังหวัดหนองคาย. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(2), 133-151.
สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, นิชนันท์ สุวรรณกูฏ และอมรรัตน์ นธะสนธิ์. (2561). ประเมินผลโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชันในเขตพื้นที่สุขภาพที่ 10. Rama Nurse Journal, 25(1).
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
โอภาส การย์กวินพงศ์. (2564). บุหรี่สาเหตุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังปัญหาสุขภาพอันดับ 1 ของโลก. ออนไลน์. เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2021. แหล่งข้อมูล: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31175
Hoy, W. K., & Miskel, G. C. (2012). Educational Administration, Theory, Research and Practice (7th ed.). Ankara: Nobel Publications.
Lunenburg, F. C., & Ornstein, A. O. (2008). Educational administration: Concepts and Practices. (5th ed.). Belmont, CA: Wadsworth/Cengage.
Robbins, S.P. (1990). Organization Theory: Structure, Designs and Applications. (3rd ed.). Prentice Hall, Upper Saddle River.