การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาซอฟต์สกิลของนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

นลินทิพย์ คชพงษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาซอฟต์สกิลของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย 1) การศึกษาเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาความต้องการจำเป็นใน การพัฒนาซอฟต์สกิลโดยใช้แบบสอบถามรูปแบบการตอบสนองคู่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 1 จำนวน 343 คน คัดเลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย       ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNImodified) 2) การศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาซอฟต์สกิลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูล คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 1 จำนวน 12 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า ค่าเฉลี่ยของซอฟต์สกิลของนักศึกษาวิชาชีพครูในด้านสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับต่ำกว่าสภาพที่คาดหวัง และเมื่อพิจารณาผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสูงสุด คือ การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา (PNImodified = 0.340) รองลงมา คือ การสื่อสาร (PNImodified = 0.252) และการเป็นผู้นำ (PNImodified = 0.234) ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาเชิงคุณภาพที่พบว่า ระดับซอฟต์สกิลของนักศึกษาวิชาชีพครูในสภาพปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อ   การปฏิบัติงานในบริบทของวิชาชีพครู จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์ประกอบด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เนื่องจากเป็นทักษะสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน และเป็นทักษะที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมผ่านกระบวนการเรียนรู้ หรือการจัดประสบการณ์ด้วยรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนระดับและกลวิธีของการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชโลทร โชติกีรติเวช และวัลลภา อารีรัตน์. (2560). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะ Soft skills เพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมการศึกษา เขต 25. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5 (1), 44 - 52.

นันทรัตน์ เจริญกุล. (2564). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของครูในอนาคตที่เสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองโลกที่สร้างคุณค่าความเป็นมนุษย์: กรณีศึกษาครูนิสิตจุฬาฯ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (7), 147 – 163.

นิตยา จันตะคุณ. (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาในศตวรรษที่ 21. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญช่วย สายราม. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุษกร วัฒนบุตร. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา Soft Skills ของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยวิชาการ. 4 (1), 87-94.

พัชรินทร์ รุจิรานุกูล และอัฐฉญา แพทย์ศาสตร์. (2561). ความตองการและแนวทางการพัฒนานักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี ในยุคไทยแลนด 4.0. มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

ภัทราพร เกษสังข์, อนุภูมิ คำยัง, กฤศนรัตน์ พุทธเสน และอรวรรณ เกษสังข์. (2562). สมรรถนะและการประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดเลย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 11 (1), 132 – 145.

มนตรี อินตา. (2562). Soft Skills ทักษะที่จำเป็นสู่ความเป็นมืออาชีพของครูยุคใหม่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. 20 (1), 153 – 167.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

ศิริพร อาจปักษา. (2558). การประเมินความต้องการจําเป็นในการพัฒนาตนเองของครูสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดราชบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. 8 (2), 1251-1264.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). รายงานผลการศึกษาสถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุวิมล ว่องวานิช. (2545). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในวิทยานิพนธ์ของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 15 (2), 255 – 277.

อนวัช จิตรักษ์ และ กนกอร สมปราชญ์. (2562). ตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเชียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13 (1), 278 – 288.

Crosbie, R. (2005). Learning the soft skills of leadership. Industrial and Commercial Training. 37 (1), 45-51.

Digvijay Pachauri and Aruna Yadav. (2014). Importance of Soft Skills in Teacher Education Programme. International Journal of Educational Research and Technology. 5 (1), 22 – 25.

Dubrin, J.A. (1998). Leadership research findings and skills. Houghton Mifflin.

Lowden, K., Hall, S., Elliot, D. & Lewin, J. (2011). Employers’ perceptions of the employability skills of new graduates. The SCRE Research Centre. University of Glasgow.

Md-Ali, R., Shaffie, F., & Yusof, F. M. (2016). Public University Educators’ Understanding and Conception of Soft Skills for Educators. International Review of Management and Marketing, 6 (7S), 181–186.

Tang Keow Nganga, Hashimah Mohd Yunusa & Nor Hashimah Hashima. (2015). Soft Skills Integration in Teaching Professional Training: Novice Teachers’ Perspectives. Social and Behavioral Sciences, 186 ( 2015 ), 835 – 840.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row Publication.

Youssef N, H, and Helali M, M. (2021). Relationship between teacher’s soft skills; self-regulated learning learning strategies, gender, experience and educational stage. Review of international geographical education. 11 (9), 1894 – 1905.