รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

คณัฐชนน จันทร์ฟ้าเลื่อม

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21  2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) ศึกษาผลการการพัฒนาคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานงานวิจัยนี้ใช้รูปแบบของการวิจัยและพัฒนา(R&D) โดยศึกษาตัวอย่างที่ดี (Best practice) จำนวน 3 แห่ง แล้วยกร่างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 ประเมินรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ด้วยการสัมมนากลุ่มอิงผู้เชี่ยวชาญ และประเมิน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และทำการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และระยะที่ 4 ศึกษา   ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 โดยทดลองใช้กับครูผู้สอน จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจหลังใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และทำการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ
               ผลการวิจัยพบว่า 1)องค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะของครูผู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 37 ตัวชี้วัด และความเหมาะสมขององค์ประกอบในระดับมากที่สุด 2) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันโดยรวม อยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และ 4) ผลการพัฒนาคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21  พบว่า ครูผู้สอนมีผลการพัฒนาคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 หลังพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาการพัฒนาคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิก.

ธมล เกลียวกมลทัต และคณะ. (2562). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเอกชน จังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6 (3), 566-579.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พิชญาภา ยืนยาว และวุธ ธาดาตันติโชค. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ภราดา วิศิษฐ์ศรีวิชัยรัตน์. (2553). คุณภาพครูและคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สภาการศึกษาคาทอลิก.

วรลักษณ์ คำหว่าง และนงลักษณ์ ใจฉลาด. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 6 (1), 129-138.

วิจารณ์ พานิช. (2555). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: .http://lripsm.wixsite.com/21st/about_us.

สุนันท์ สีพาย. (2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13 (2), 246-263.

เสถียร วัชระนิมิต. (2563) .รูปแบบการบริหารงานด้านการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎี การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.