รูปแบบการพัฒนาทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา และ 4) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ โดยการสังเคราะห์เนื้อหาทักษะการนิเทศการศึกษา และประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา โดยนำองค์ประกอบและตัวบ่งชี้มาสร้างแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ เพื่อวิเคราะห์หาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 3 สร้างรูปแบบและคู่มือหลักสูตรการพัฒนาทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา โดยศึกษาโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศเป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบแล้วประเมินความเหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ของรูปแบบด้วยกระบวนการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และระยะที่ 4 นำรูปแบบการพัฒนาทักษะการนิเทศการศึกษา ไปใช้กับผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ แบบสอบถามเพื่อสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ แบบประเมินความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 10 ตัวบ่งชี้ และความเหมาะสมขององค์ประกอบในระดับมากที่สุด 2) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการพัฒนาทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการนิเทศของผู้บริหาร คือ ทักษะทางเทคนิคและการนิเทศการศึกษา และทักษะด้านการประเมิน ตามลำดับ 3) รูปแบบการพัฒนาทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารการศึกษาประกอบด้วย ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการพัฒนา สื่ออุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และ 4) ผลการนำรูปแบบไปใช้กับผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีผลการพัฒนาทักษะการนิเทศการศึกษาหลังพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา และมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคามในระดับมากที่สุด
Article Details
References
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.
ฉลาด จันทรสมบัติ และพินิจ มีทองคำ. (2562). รายงานผลการพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ถวิล อรัญเวศ. (2560). การนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: http://thawin09.blogspot.com/2017/02/blog-post_5.html
นพพรพรรณ ญาณโกมุท. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนเอกชน. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 5 (9), 25-40.
นัจรีภรณ์ ทุมสงคราม. (2557). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10 (2), 163.
นิรุทธ์ นันทมาศวังนรา. (2560). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นราธิวาส เขต 1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 6 (1), 61-72.
ปฏิวัติ แก้วรัตนะ. (2558). รูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
เพ็ญวิภา พรหมสุวรรณ์. (2556). อนาคตภาพของการนิเทศการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2556 - 2565). วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ภัณฑิรา สุปการ. (2558). รูปแบบการบริหารจัดการการนิเทศการศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มัญชลี เปี่ยมดี และพชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2563). การพัฒนาโปรแกรมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (6).
ศุภลักษณ์ มีปาน. (2562). รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการทฤษฎีและปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มิตรสยาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2564). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. มหาสารคาม: หยกศึกษาภัณฑ์และการพิมพ์.
สำรองชัย สามเมือง. (2556). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 4 (1), 132-140.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดุลย์ วงศ์ก้อม. (2552). รูปแบบการนิเทศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.