ผลการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างจิตสำนึกและความสามารถกำกับตนเอง ตามแนวคิดอภิปัญญาการเรียนรู้แบบร่วมมือทฤษฎีการรู้คิดทางสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

วรปภา เทศประสิทธิ์
นิราศ จันทรจิตร
พิจิตรา ธงพานิช

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบจิตสำนึกและความสามารถกำกับตนเองของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบจิตสำนึกและความสามารถกำกับตนเองของนักเรียน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบและกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ วิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 และ 6/2โรงเรียนเทศบาล 4 (รัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี) ปีการศึกษา 2565 จำนวน 37 คน และ 36 คน ตามลำดับ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดจิตสำนึก 3) แบบวัดความสามารถกำกับตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t - test แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One-way MANOVA)
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ มีจิตสำนึกและความสามารถกำกับตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          2. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ มีจิตสำนึกและความสามารถกำกับตนเองหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจร. (2543). สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Eaude, Tony. (2011). Thinking Through Pedagogy for Primary and Early Years. Learning Matters Ltd.

Hartmann, B., Reichert, H., Walldorf, U. (2001). Interaction of gap genes in the Drosophila head : tailless regulates expression of empty spiracles in early embryonic patterning and brain development. Mech. 109(2) : 161-172 ; Dev.

Hunter, Madeline. (1976). “Teacher Competency: Problems, Theory, and Practice,” Theory Into Practice. 15, 162- 171.

Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1990). Cooperative Learning and Achievement. In S. Sharan (Ed.), Cooperative Learning: Theory and Research. New York: Praeger.

Joyce, Bruce ; Marsha Weil ; Emily Calhoun. (2011). Models of Teaching. Boston MA : Pearson Education, Inc.

Leighton, T.G. (2012). How can humans, in air, hear sound generated underwater (and can goldfish hear Their owners talking). Journal of the Acoustical Society of America, 131(3 Pt 2), 2539-2542.

Zimmerman. (1990). “Self-Regulation Learning and Academic Achievement: An Overview,” Educational Psychologist. New York : Lawrence Erlbaum Associates. 25 (1), 3-17.