การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค KWL Plus

Main Article Content

ปัทวรรณ วัฒนไชย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิค KWL Plus และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร จำนวน 36 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติทดสอบ (t-test) แบบ dependent ค่าเฉลี่ย (M) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus มีความสามารถทางการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชพร จันคามิ. (2564). การเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสาร The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 3, 1-13.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). ทักษะการคิดและการจัดการเรียนรู้. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร

วันวิดา กิจเจา. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus. วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง.

สุทธินี เมืองมูล. (2564). ผลของการใช้เทคนิค KWL Plus เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรพัทธ ศิริแสง. (2558). การศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA. วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัจฉริยาภรณ์ ไล้เลิศ. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL Plus เรื่อง Food and Drink เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.