ทิศทางการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางการศึกษา ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นมีความร่วมมือทางการศึกษามายาวนานโดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางการศึกษาสำหรับบุคลากรทางการศึกษาและสำหรับผู้เรียนมาอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่กิจกรรมส่วนมากเดิมมีเนื้อหามุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่นที่เป็นรูปธรรม แต่จากการผันผวนของโลกอย่างรวดเร็วส่งผลให้กิจกรรมแลกเปลี่ยนทางการศึกษามีลักษณะที่เปลี่ยนไป บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากิจกรรมแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ที่ประเทศไทยเป็นผู้จัด และ 2) เพื่อนำเสนอทิศทางกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระหว่างไทย-ญี่ปุ่นในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านผู้จัดและผู้เข้าร่วมโครงการ มีแนวโน้มที่จะเป็นการติดต่อระหว่างโรงเรียนโดยตรงและมีการทำสัญญาทางการศึกษามากขึ้น 2) ด้านเนื้อหาสาระ มีแนวโน้มที่จะเป็นเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมไทยและญี่ปุ่น และเพิ่มเติมเนื้อหาเฉพาะสาขาวิชาเพิ่มเติมมากขึ้น โดยเน้นไปทางสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3) ด้านลักษณะกิจกรรม มีแนวโน้มในการจัดกิจกรรมเป็นแบบผสมผสานทั้งแบบเผชิญหน้าและแบบออนไลน์ และมีแนวโน้มที่ผู้จัดจะต้องนำเทคโนโลยีมาผนวกกับการจัดกิจกรรมนันทนาการมากยิ่งขึ้น
Article Details
References
กนกวรรณ แกว่นถิ่นภู และ จิตรลดา จันทร์แหยม. (2563a). การหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย. กลุ่มสารสนเทศต่างประเทศ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.bic.moe.go.th/index.php/news-movement-menu/1190-japan-16-9-2563
กนกวรรณ แกว่นถิ่นภู และ จิตรลดา จันทร์แหยม. (2563b). โครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระหว่างประเทศไทย-ญี่ปุ่น ประจำปี 2563. กลุ่มสารสนเทศต่างประเทศ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กนกวรรณ แกว่นถิ่นภู และ จิตรลดา จันทร์แหยม. (2564). พิธีเปิดโครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระหว่างประเทศไทย-ญี่ปุ่น ประจำปี 2564 รูปแบบออนไลน์. กลุ่มสารสนเทศต่างประเทศ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.bic.moe.go.th/index.php/news-movement-menu/2376-thailand-japan-14-9-2564c
กนกวรรณ แกว่นถิ่นภู และ จิตรลดา จันทร์แหยม. (2565). พิธีเปิดโครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระหว่างประเทศไทย-ญี่ปุ่น ประจำปี 2565 รูปแบบออนไลน์. กลุ่มสารสนเทศต่างประเทศ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ. (2561). เอกสารศึกษาเฉพาะกรณี เรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ไทย-ญี่ปุ่น.
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม. (2554). โครงการพัฒนาทักษะทางภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น. โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
งานวิเทศสัมพันธ์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. (2564). โรงเรียนพี่น้องไทย-ญี่ปุ่น สาธิตเกษตร-อุบุยามา (แบบออนไลน์ ครั้งที่ 1). โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=OwCIpmq5PsM
ชาลี วัฒนเขจร. (2564). ประกาศโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต เรื่อง ผลการคัดเลือกนักเรียนเข้าร่วมโครงการวิจัยและนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กับ โรงเรียนมัธยมโนเบโอกะ ประเทศญี่ปุ่น. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.skr.ac.th/main/wp-content/uploads/2021/10/%E0% B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%9C%E0%B8%A5-SSH018.pdf
Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology Japan. (n.d.). International Education. Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology Japan. Online. Retrieved 30 December 2022, from https://www.mext.go.jp/en/policy/ education/els ec/title02/detail02/1373861.htm
Ritsumeikan High School. (2022). Japan Super Science Fair 2022. Retrieved 30 December 2022, http://www.fkc.ritsumei.ac.jp/fkc/jssf2022/history.html
William H. Stewart & Patrick R. Lowenthal. (2021). Experiences and perceptions of exchange students learning online during the COVID-19 pandemic in the Republic of Korea: An exploratory descriptive study. Asian Journal of Distance Education, 16 (1), 119-140. Retrieved 30 December 2022, https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1303713.pdf