การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

สุพรรษา สุวรรณชาตรี
นัจญม๊ะ ง๊ะสมัน
ธีระยุทธ รัชชะ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA  เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ช่วงก่อน ระหว่าง และหลังทำการทดลอง และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกำแพงวิทยา จังหวัดสตูล ที่กำลังศึกษารายวิชาทัศนศิลป์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PROSA และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลและสรุปผล แบบแผนการทดลองกลุ่มเดียววัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา (The One-Group Pretest-Posttest Time Series Design) ใช้การวิเคราะห์อนุกรมเวลา (Time series Analysis) สถิติวิเคราะห์ One-way repeated measure ANOVA  
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. ผลการสังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA มีดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจโดยกำหนดสถานการณ์ (Predicament) 2) ขั้นการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Researching) 3) ขั้นเลือกวิธีการที่ดีที่สุด (Opt-in method) 4) ขั้นสังเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Synthesis) และ 5) ขั้นประเมินและนำเสนอข้อมูล (Assessment)
          2. ผลการเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ช่วงก่อน ระหว่าง และหลังทำการทดลอง พบว่า นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ใน 3 ช่วงเวลาแตกต่างกัน แบบวัดซ้ำ 3 ครั้ง ค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          3. ผลระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA พบว่า มีระดับความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ระดับที่มาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิติยา เก้าเอี้ยน. (2558). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิดของวิลเลียมส์ที่มีต่อ ความคิด สร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ. 9 (2), 13-21.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การคิดเชิงสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.

ทวีป อภิสิทธ์. (2559). กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. (2563). ทักษะสำหรับครูเพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. วารสารครุศาสตร์สาร: Journal of Educational Studies. 14 (1), 146-158.

พาสนา จุลลรัตน์. (2563). จิตวิทยาการรู้คิด Cognitive Psychology. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุค Thailand 4.0. วารสารวิชาการVeridian E – Journal, Silpakorn University. 11 (2), 2363-2380.

ภาณุภณ กล้าผจญ, ปัญญา ทรงเสรีย์, และอังสุวัส ดิษยมาลย์. (2559). ทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. นนทบุรี: สำนักพิมพ์เอมพันธ์.

สุรัชพงศ์ สิกขาบัณฑิต. (2557). นโยบายประเทศไทย 4.0 : โอกาส อุปสรรค และผลประโยชน์ของไทยในภูมิภาคอาเซียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.parliament. go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=%0946816&filename=foreign2_index.

อังศุมาลิน พฤษชัยนิมมิต. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนทัศนศิลป์ด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. นครศรีธรรมราช: โรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ.

อารี พันธ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารี พันธ์มณี. (2543). คิดอย่างสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: เลิฟ แอนด์ ลิพเพรส.

Beghetto, Ronald A. (2006). “Creative Self-Efficacy : Correlates in Middle and Secondary Students. “Creative Resrarcch Journal. 18 (4), 447-457.

His-chi Hsiao, Ying-Hsin Liang and Teng-Ying Lin. (2004). “A creative thinking teaching model in a computer network course for Vocation high school,” World Transactions on Engineering and Technology Education. 3 (2), 243-247.

Jerome Kagan, and Julius Segal. (1992). Psychology an Introduction. (7 th. Ed). Florida: Harcourt Brace Jovanovich, Inc.

Rogers, E.M. (1970). Diffusion of Innovations. (3 rd ed). New York: The Free Press.