ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

Main Article Content

ธนัญญาณ์ โสภณพุทธพร
นารีรัตน์ สีระสาร
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 175 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับ และสถิติถดถอยพหุ
          ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 57.83 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ระยะเวลาการเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 6.63 ปี สาเหตุการเข้าร่วมวิสาหกิจชุมชนต้องการรายได้เพิ่ม รายได้จากการประกอบกิจการของวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 16,842.86 บาท/ปี การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เกิดจากการร่วมกันแก้ไขปัญหาของชุมชน ทุนส่วนใหญ่มาจากการระดมทุนจากสมาชิกในการประกอบกิจการ ระยะเวลาการประกอบกิจการเฉลี่ย 8.26 ปี ส่วนใหญ่ดำเนินกิจกรรมการการผลิตพืช และมีการอบรมให้ความรู้กับสมาชิกเฉลี่ย 1.82 ครั้ง/ปี  2) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมาก ในประเด็น ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการจัดโครงสร้างองค์การ ด้านการมีส่วนรวมของสมาชิก 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ ระดับการศึกษาและรายได้จากการประกอบกิจการของวิสาหกิจชุมชน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p< 0.001) 4) ปัญหาในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน อยู่ในระดับมาก ในประเด็น การสรุปรายงานการประชุมให้สมาชิกทราบทั่วถึง ข้อเสนอแนะควรรายงานข้อมูลทางการเงินและสรุปผลการดำเนินงาน ให้สมาชิกทราบอย่างทั่วถึง 

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564. แหล่งที่มา: http://smce.doae.go.th/smce1/report/index_tree.php?section=1

จุฑารัตน์ เนื่องผาสุก, สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม และเบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. (2558). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 12 ตามรอยพระยุคบาท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม.

จีรภา คุ้มสุวรรณ และ ปาณิสรา คงปัญญา. (2561). ปัจจัยด้านการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน ประเภทการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8 (1), 68-79

ณิชศิภา ชาวนาฟาง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนมังคุดแปลงใหญ่ จังหวัด จันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

ทรงศักดิ์ สีหานาค. (2562). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พุทธรักษ์ เป็งมอย. (2560). การบริหารการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน อำเภอแม่สอด ภายใต้บริบทเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รัชดา ภักดียิ่ง. (2563). การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. Journal Of Buddhist Education and Research : JBER. 6 (1), 175-188

สุพรรณี กันขัด. (2560). การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

สุดารัตน์ แช่มเงิน, ประเดิม ฉ่ำใจ และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนไวน์ศรีชุมแสงตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี.วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 35 (3), 127-136