รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

เจนวุฒิ บุญชูพงศ์
ณรงค์ พิมสาร
เสวียน เจนเขว้า

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้  1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยากับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 68 คน  และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 2) พัฒนาและตรวจสอบร่างรูปแบบด้านความเหมาะสมและความถูกต้อง โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน 3) ประเมินความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้โดยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 68 คน และ 4) ทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 2 โรงเรียน โดยมีผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ค่าร้อยละ 2) ค่าเฉลี่ย และ 3) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาใน ยุคใหม่โดยรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย   2.1) องค์ประกอบของสมรรถนะ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ 2.2) สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคใหม่ 5 ด้าน ได้แก่ ภาวะผู้นำทางวิชาการ การประสานสัมพันธ์ การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาบุคลากร 3) ผลการประเมินรูปแบบด้านความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นของการพัฒนาสมรรถนะเท่ากับ 0.09

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). รายงานเฉพาะเรื่องที่ 8 การปฏิรูปครูและอาจารย์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา http://www.onec.go.th/th.php/book/ BookView/1742.

นริศ มหาพรหมวัน. (2561). รูปแบบสมรรถนะผู้นำโรงเรียนเอกชนสู่มาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นุชนรา รัตนศิระประภา. (2557). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: https://dric.nrct.go.th/Search/Show Fulltext/2/277925.

เบญจมาศ นิลกำแหง. (2564). รูปแบบการพัฒนาทีมงานที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. (2564, 17 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 38 ง. หน้า 6. หน้า 13-14.

พินดา วราสุนันท์. (2556). ย้อนรอยการประเมินสู่มุมมองการประเมินในอนาคต. วารสารวัดผลการศึกษา, 30 (18), 19.

วิชชุตา ถาวรกัลปชัย. (2560). รูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย นอร์ทกรุงเทพ.

สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ. (2557). คู่มือการกำหนดสมรรถนะสำหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่น “คู่มือสมรรถนะหลัก”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2564. แหล่งที่มา https://www.huaiprik.go.th/datacenter/doc_download/a_121118_144716.pdf.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

Hitt, Dallas H.; et al. (2018, January 1). Principal Competencies That Make a Difference: Identifying a Model for Leaders of School Turnaround. Journal of School Leadership,

(1), 56-77.

Madaus, George F.; Scriven, Micheal; & Stufflebeam, Daniel L. (1983). Evaluation Models Viewpoints on Educational and Human Services Evaluation. (8th ed.). Boston: Khuwer-Nijhoff Publishing.

Sharma, Radha R. (2017, June). A Competency Model for Management Education for Sustainability. Vision: The Journal of Business Perspective, 21 (2), x-xv.