การพัฒนาการดำเนินงานตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพของวิสาหกิจชุมชน ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

อัญชลี บุญเจริญ
นารีรัตน์ สีระสาร
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน                      2) การดำเนินงานตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพ 4) การพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน
          ตัวอย่างที่ศึกษา คือ สมาชิกที่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนกับสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปีการผลิต 2564  จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 130 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ               ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดลำดับ
          ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิก ร้อยละ 73.8 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 56.22 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระยะเวลาในการเป็นสมาชิก 8.7 ปี รายได้ในภาคเกษตรเฉลี่ย 85,343.80 บาท/ครัวเรือน รายจ่ายในภาคการเกษตรเฉลี่ย46,793.08 บาท/ครัวเรือน 2) สมาชิกมีการบริหารจัดการกลุ่มตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพในระดับมาก ในประเด็นการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการของกลุ่ม 3) สมาชิก มีปัญหาในการดำเนินงานตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพ ระดับปานกลาง ในประเด็นด้านการเงิน วิสาหกิจชุมชนยังขาดเงินทุนในการขยายกิจการ มีความต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ สมาชิกมีข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพ ในระดับมากที่สุด คือ ด้านลูกค้าพัฒนาให้สินค้าของวิสาหกิจชุมชนได้มาตรฐานสินค้า ด้วยการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ 4) สมาชิกมีแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงาน ในระดับมากที่สุด  ในประเด็น ด้านการเรียนรู้และพัฒนา ด้านการเงิน และด้านกระบวนการภายใน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2562). คู่มือนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการเกษตร.

กษมาพร พวงประยงค์ และ นพพร จันทรนำชู (2556). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการแปรรูปและผลิตภัณฑ์จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 108-120

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และ อุทิศ สังขรัตน์. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 47-49

ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP. วารสารนักบริหาร Executive Journal. 34 (1), 177-191.

นภดล ร่มโพธิ์ และคณะ. (2554). การวัดผลการปฏิบัติงานองค์กร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปฐมพงษ์ บำเริบ และวสุธิดา นักเกษม. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าบนธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ไพศาล มุ่งสมัคร และคณะ. (2556). รูปแบบการจัดการที่ประสบผลสำเร็จของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์. วารสารสมาคมนักวิจัย. 18 (3), 115-123

มัลลิกา บุนนาค (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 29

มินระดา โคตรศรีวงค์ และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2559). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9 (3)

สมชาย ฉ่ำน้อย และคณะ. (2561). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนอำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารเกษมบัณฑิต, 1 (ฉบับพิเศษ), 130

สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสมุทรปราการ. (2564). แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอปี 2561-2565. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. จังหวัดสมุทรปราการ.

สิรินทิพย์ มีเวียงจันทร์. (2563). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรบัณฑิต. สาขาส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Kaplan and Norton. (1996). Using the Balanced Scorecard as a Strategic Management System. Harvard Business Review, 12, 75 – 85.