ระบบสุขภาพและประสบการณ์การรับบริการของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดยโสธร

Main Article Content

สวิณีย์ ทองแก้ว
พีระพล รัตนะ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดยโสธร และจัดทำแนวทางการบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดยโสธร คือ กลุ่มผู้ต้องขัง เจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานในเรือนจำ และ เจ้าหน้าที่เครือข่ายปฎิบัติงานในการบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดยโสธร การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และในกลุ่มบุคลากรเครือข่ายฯ ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม  ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาถึงระบบบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการพยาบาล ด้านการส่งเสริมป้องกัน ด้านการส่งเสริมสุขภาพจิต ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้านการส่งต่อเพื่อรักษา ด้านการตรวจสอบสิทธิ ปัญหาและอุปสรรคที่พบ ผู้ต้องขังมีปัญหาสุขภาพช่องปากจำนวนมากในการรับบริการเครือข่ายมีบริการ 2 ครั้งต่อปีต้องขังมีความคาดหวังในการบริการสุขภาพที่เพียงพอตามบทบาทของตนเอง แนวทางการจัดบริการภายในเรือนจำจังหวัดยโสธร มีแนวทางการปรับรูปแบบบริการ โดยการนำเอาทฤษฎีการจัดการเป็นรูปแบบในการจัดแนวทางของระบบบริการ
          สรุปได้ว่าการนำเอาหลักกรอบแนวคิดขององค์กรอนามัยโลกมาทำการวิเคราะห์ช่วยให้เห็นช่องว่างในการจัดการบริการที่มาพัฒนาบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังให้มีมาตรฐานตามแนวทางมากขึ้นโดย 1) ด้านการบริการ 2) กำลังคนด้านสุขภาพ 3) ระบบข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ 4) เทคโนโลยีทางการแพทย์ 5) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล 6) ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล ข้อเสนอแนะการวิจัย นำแนวทางที่ได้ทำการประเมินต่อและวางแผนพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบท ความสัมพันธ์ที่ดีต่อเครือข่ายมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบบริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลภา วจนสาระ. (2561). ป่วยไข้ในเรือนจำปัญหาและการเข้าถึงบริการ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักบริหารการสาธารณสุข. (2562). แนวทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณาสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

García-Guerrero J. and Marco A. (2012). Overcrowding in prison and its impact on health. Retrieved May 23, 2020. from www.europepmc.org:https://europepmc.org/article/ med/23165634

Bernice S. Elger , Catherine Ritter , Heino Stöver. (2017). Emerging Issues in Prison Health. Retrieved May 23, 2020. from Link.springer.com: https://link.springer.com/ content/pdf/bfm%3A978-94-017-7558-8%2F1.pdf

International Centre for Prison Studies. (2004). Prison Health and Public Health: The integration of Prison Health Services Report From a conference. Retrieved May 23, 2020. from www.prisonstudies.org: https://www.prisonstudies.org/sites/default/ files/ resources/downloads/prison_health_4.pdf

Karine Moschetti,corresponding author, Véra Zabrodina, Tenzin Wangmo, Alberto Holly, Jean-Blaise Wasserfallen, Bernice S. Elger, and Bruno Gravier. (2018). The determinants of individual health care expenditures in prison: evidence from Switzerland. Retrieved May 23, 2020. from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/ articles/PMC5842659/

Penal Reform Internatinal. (2559). Bangkok Rules. Retrieved May 23, 2020. from www.tijbangkokrules.org/th

Penal Reform International (PRI) Thailand Institute of Justice (TIJ). (2020). (2020). Global Prison Trends. Retrieved May 23, 2020. from http://Knowledge.tijthailand.org/ en/publication/detail

Penal Reform International. (2559). คู่มือฉบับย่อสำหรับข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังฉบับปรับปรุง(ข้อกำหนดแมนเดลา). Retrieved May 23, 2020. from https://cdn.penalreform.org/wp-content/uploads/2016/01/PRI_Mandela-Rules_Short_Guide_THAI_Lowres.pdf

The United Nations office on Drugs and crime. (2016). The United Nations Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners. Retrieved May 23, 2020. from https://www. unodc.org/documents/justice-and-prison-reform/Nelson_Mandela_Rules-E-ebook. pdf

The word prison brief. (2020). The word prison brief. Retrieved May 23, 2020. from The word prison brief: www.prisonstudies.org

Thianthip Diawkee. (2561). Thaihealth. Retrieved May 23, 2020. from Thaihealth: www.thaihealth.or.th/content/44382-"สงขลาโมเดล"%20ต้นแบบการจัดการบริการสุขภาพผู้ต้องขัง&html.

World Health Orgarnization. (2010). Monitoring the building Block of Health system. Retrieved May 23, 2020. from http://Who.int/healthinfo/systems/who_MBHSS_ 2010_FULL_web.pdf?ua=1