ความเป็นดนตรีที่ปรากฎในพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบตในบริบทสังคมไทย

Main Article Content

รวมศักดิ์ เจียมศักดิ์
สุรศักดิ์ จำนงค์สาร
เทพิกา รอดสการ
รุจี ศรีสมบัติ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยเรื่อง“ความเป็นดนตรีที่ปรากฎในพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบตในบริบทสังคมไทย” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพุทธศาสนาวัชรยานที่ปรากฏในบริบทสังคมไทย และ2) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นดนตรีที่ปรากฏในพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบตในบริบทสังคมไทย การเก็บข้อมูลเป็นรูปแบบเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการทางด้านมานุษยดุริยางควิทยา โดยการสำรวจเอกสาร การออกเก็บข้อมูลภาคสนาม การจดบันทึก การบันทึกเสียง การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์ และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีบรรยายแบบพรรณนาวิเคราะห์ เพื่อสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเด็นพุทธศาสนาวัชรยานที่ปรากฏในบริบทสังคมไทย มีการเผยแพร่องค์ความรู้พุทธศาสนาวัชรยานในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ การเผยแพร่องค์ความรู้พุทธศาสนาวัชรยานผ่านสำนักธรรม การเผยแพร่องค์ความรู้พุทธศาสนาวัชรยานผ่านงานวรรณกรรม และการเผยแพร่องค์ความรู้พุทธศาสนาวัชรยานผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ความเป็นดนตรีที่ปรากฏในพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบตในบริบทสังคมไทยมีการใช้เครื่องดนตรีทิเบตในพิธีกรรม นอกจากนี้ มีการแบ่งลักษณะดนตรีออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การบรรเลงดนตรีรวมวง การบรรเลงดนตรีประกอบการสวดมนตร์ และการสวดมนตร์โดยไม่มีดนตรีประกอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษดาวรรณ เมธาวิกุล. (2561). วัชรยาน: พระพุทธศาสนามหายานแบบทิเบต. ในปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ (บ.ก.). พระพุทธศาสนามหายานในเอเชียตะวันออก.นนทบุรี: ชวนอ่าน.

จิรัสสา คชาชีวะ. (2559). วัชรยานตันตระในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2545). ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ.

บุญมี แท่นแก้ว. (2548). พระพุทธศาสนาในเอเชีย (เน้นด้านอารยธรรม). กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์

ผาสุข อินทราวุธ. (2548). สุวรรณภูมิ จากหลักฐานโบราณคดี. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ราชบัณฑิต. (2475). พุทธประวัติฝ่ามหายานในธิเบต. กรุงเทพมหานคร: พระจันทร์

วีระ สมบูรณ์. (2550). รหัสดนตรีพลิกวิถีโลก. กรุงเทพมหานคร: Openbooks.

ส. ศิวรักษ์. (2542). พุทธตันตระหรือวัชรยาน. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ไทย-ธิเบต.

สมเกียรติ โล่เพชรัตน์. (2561). พุทธตันตระ พระกษิติครรภ์มหาปณิธานสูตร. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธา การพิมพ์.

สุรชัย ศิริไกร. (2561). พุทธศาสนามหายานในไทย.ใน ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ (บ.ก.), พระพุทธศาสนามหายานในเอเชียตะวันออก. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ชวนอ่าน.

สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์. (2558). พระพุทธรูปล้านนากับคติพระพุทธศาสนามหายานแบบตันตระนิกายวัชรยาน. เชียงใหม่: สำหนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Baumer, Christoph. (2002). Tibet’s Ancient Religion, Bön. Germany :Weatherbill.

Ellingson, Terry. (1979). Don rta dbyangs gsum: Tibetan Chant and Melodic Categories. In Asian Music. Vol. 10, No. 2, pp. 112-156. USA :University of Texas Press.

L. Kuzmin, Sergius. (2011). Hidden Tibet. History of Independence and Occupation. Dharamsala: Library of Tibetan Works and Archives

Rice, Timothy. (2014). Ethnomusiclogy. Great Britain : Oxford University Press.

Van Schaik, Sam. (2016). The Spirit of Tibetan Buddhism. USA: Yale University Press .

Winick, Stephen and Bartis , Peter. (2016). Folklife and Fieldwork: An Introduction to Cultural Documentation. 4th edition. Washigton, DC: The American Folklife Center.