การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่อง การเรียนรู้ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องการเรียนรู้ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ และ 2) เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องการเรียนรู้ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เป็นนักวิชาการทางด้านการศึกษาสำหรับตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 10 คน คัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง และ 2) กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนที่เปิดสอนระดับอนุบาลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 50 คน คัดเลือกโดยวิธีสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1)แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง 2) แบบคัดกรองสำหรับการวิเคราะห์เด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องการเรียนรู้ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ และ 3) โมบายแอปพลิเคชันสำหรับการคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องการเรียนรู้ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องการเรียนรู้ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ มีผลด้านการคัดกรอง ซึ่งเน้นประเด็นในเรื่องการให้ความรู้ ความเข้าใจ วิธีการ รวมถึงทักษะการใช้เครื่องมือนวัตกรรมในการคัดกรองนั้น พบว่าค่าเฉลี่ยภาพรวมของด้านการคัดกรองอยู่ในระดับปานกลาง ( x̄ = 3.02 S.D. = 1.16) และ 2) สำหรับด้านประเมินการใช้โมบายแอปพลิเคชัน มี 5 ประเด็น ได้แก่ ด้านเนื้อหา การแสดงผล การออกแบบ การจัดการแอปพลิเคชัน ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x̄ = 4.62 S.D. = 0.41) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2545). กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการบริการการจัดการแนะแนว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
ธีร์วรา ปลาตะเพียนทอง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านคำศัพท์และความคงทนโดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับสมุดภาพคำศัพท์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม.การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ผดุง อารยะวิญญู. 2544. เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ (Learning Disabilities). กรุงเทพมหานคร: แว่นแก้ว.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิสรรณ พลเสน. (2547). คู่มือจัดกิจกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Ghadessy, M. (1988). Word Lists and Materials Preparation: A New Approach. In English Teaching Forum. Vol.17, No.2, pp. 24-27.
Nation. I S P. (2003). Learning vocabulary in another language. Cambridge: CambridgeUniversity.
Stewick, Earl W. (1982). Teaching and Learning Language. New York: Cambridge University.
Thornbury, S. (2004). How to teach vocabulary. Bangkok: Pearson Education Indochina.