คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ Smart Farmers กรณีศึกษา : เกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

กฤษณา มาตรวังแสง
ปานปั้น รองหานาม

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงการ Smart Farmers ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่นและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ Smart Farmers กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่นที่เข้าร่วมโครงการ Smart Farmers ประจำปี 2564 จำนวน 347 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test Dependent ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตก่อนที่เข้าร่วมโครงการ Smart Farmers โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านร่างกาย ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง และด้านจิตใจมีคุณภาพอยู่ในระดับน้อย และหลังที่เข้าร่วมโครงการ Smart Farmers พบว่า โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านจิตใจ ด้านความ สัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านร่างกาย มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรจังหวัดขอนแก่นหลังที่เข้าร่วมโครงการ Smart Farmers สูงกว่าก่อนที่เข้าร่วมโครงการ Smart Farmers อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). แผนงาน Smart Farmer. ออนไลน์. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565. จาก https://www.moac.go.th/ a4policy-alltype-391191791803

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://tarr.

arda.or.th/static2/docs/deve lopment_plan2559.pdf

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). คู่มือการปฏิบัติงาน โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://www4.fisheries. go.th/ local/file_document/2019061714 1818_1_file.pdf

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). หม่อนไหมขอนแก่น จัดอบรม เกษตรกร Smart Farmer เพื่อต่อยอดกิจกรรมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สร้างเครือข่ายและความยั่งยืนในอาชีพด้านหม่อนไหม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://qsds.go.th/newqssckkm/ blog/2022/02/04/650204/

ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 อำเภอเกาะคำ จังหวัดลำปาง. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เมตตา เร่งขวนขวาย. (2563). การศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่ได้รับการฝึกอบรมอาชีพเสริม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14 (3), 564-577.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยเกษตร. (2565). Smart Farming ความสำเร็จและความท้าทายแห่งยุคสมัย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.arda.or.th/knowledge _detail.php?id=6

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). สศก. โชว์ผลติดตาม Smart Farmer ปี 64 ช่วยเกษตรกรพัฒนาศักยภาพ สร้างความมั่นคงในอาชีพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร/37541/TH-TH