การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร และการรับรู้บรรยากาศในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อ ผลการปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยองและ 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของการรับรู้บรรยากาศในองค์กร ที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง เป็นจำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐาน ร้อยละ จำนวนความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ (Beta = 0.320) ความมั่นคงในการทำงาน (Beta = 0.264) การเอาใจใส่ขององค์กรเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดี (Beta = 0.122) และ ความรู้ในงานและโอกาสก้าวหน้า (Beta = 0.120) มีอิทธิพลเชิงบวกต่อ ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 2) การรับรู้บรรยากาศในองค์กร ด้านการให้รางวัลและการลงโทษ (Beta = 0.435) ความรับผิดชอบ (Beta = 0.359) มีอิทธิพลเชิงบวกต่อ ผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
Article Details
References
กฤษดา เชียรวัฒนสุข และคณะ. (2562). แรงจูงใจ และ บรรยากาศ องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติ งานของพนักงานกรณีศึกษา บริษัท โซนี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University. 6 (2), 36-49.
ฐานเศรษฐกิจ. (2565). กลุ่มอุตฯชิ้นส่วนฯ ลุย 4 ทิศทางใหญ่ ดันไทยผงาดยานยนต์สมัยใหม่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565. แหล่งที่มา www.thansettakij.com/columnist/516213.
ณัฐวรา ปุณยวิทิตโรจน์. (2563). อิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดชลบุรี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เต็มสิริ ทองศิริพันธ์. (2564). อิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานและการรับรู้การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานที่มีต่อพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม และผลการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานกลุ่มบริษัทหนึ่งในอุตสาหกรรมเครื่องจักรและชิ้นส่วน ประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พงศกร เอี่ยมสอาด. (2562). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของพนักงานในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร
พัณณ์ชิตา รุ่งหิรัญธนากิตติ์. (2559). ความฉลาดทางอารมณ์ ความสามารถในการสื่อสาร ความผูกพัน และความพึงพอใจในงาน และบรรยากาศในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของ พนักงานบริษัทเอกชนใน กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วรรณา ยงพิศาลภพ. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2563-65. อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565. แหล่งที่มา: www.krungsri.com/th/research/ industry/industry-outlook/Hi-tech-Industries/Auto-Parts/IO/Industry-Outlook-Auto-Parts.
อัมพิกา สุนทรภักดี. (2559). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านอาชีพ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานขายในธุรกิจประเภทอาหารและเครื่องดื่ม แห่งหนึ่ง โดยมีการยึดมั่นต่อเป้าหมายเป็นตัวแปรสื่อ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุทัยวรรณ สายพัฒนะ. (2547). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในแบบสอบที่มีการให้คะแนนแบบหลายค่าระหว่างวิธี GMH และวิธี Polytomous SIBTEST. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการทดสอบและวัดผลการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Amna Nawaz. (2017). Impact of Job Stress on Job Performance with Perceived Organizational Support as a Moderator. Governance and Management Review. 2 (1), 1-18.
Anthony Frank Obeng et al. (2021). Organizational Climate and Job Performance: Investigating the Mediating Role of Harmonious Work Passion and the Moderating Role of Leader–Member Exchange and Coaching. SAGE Open Journal. 4, 1-14.
Astuty, I., & Udin, U. (2020). The Effect of Perceived Organizational Support
and Transformational Leadership on Affective Commitment and Employee Performance. The Journal of Asian Finance, Economics and Business, 7 (10), 401-411.
Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison, S., & Sowa, D. (1986). Perceived OrganizationSupport. Journal of Applied Psychology, 71, 500 -507.
Eisenberger, R., Stinglhamber, F., Vandenberghe, C., Sucharski, I. L., and Rhoades, L. (2002). Perceived supervisor support: Contributions to perceived organizational support and employee retention. Journal of Applied Psychology, 87, 565–573.
Irwan Sugiarto. (2021). Organizational climate, organizational commitment, job satisfaction and employee performance. Diponegoro International Journal of Business, 1(2), 112-120.
Kurtessis, James N. et al. (2015). Perceived organizational support: a meta - analytic evaluation of organizational support theory. Journal of Management, 43 (6), 1-31.
Muhammad Itqon Ghulami. (2020). Role of Organizational Citizenship behaviour in Moderation Effects of Perceived OrganizationalSupport and Psychological Empowerment on Job Performance. International Journal of Management (IJM), 11 (6), 2074-2082.