อวัจนภาษา : สัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองของเยาวชนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาเข้าใจกระบวนการการใช้ “อวัจนภาษา” การใช้สัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองแทนคำพูดให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน รวมถึงจุดยืนและอุดมการณ์ทางการเมืองการออกมามีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างเป็นรูปธรรม ปัจจุบันเรามักพูดกันเสมอว่า เยาวชน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปจะเป็นกําลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคต การปลูกฝังหรือการกล่อมเกลาอบรมจึงเป็นรากฐานที่สำคัญมากในทุกสังคมทำให้ทราบถึงระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสังคม เยาวชนซึ่งนับว่าเป็นช่วงอายุแห่งการเริ่มต้นพัฒนาความคิดทางการเมือง ดังนั้นจึงนับว่าเยาวชนเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบอบประชาธิปไตยให้มีการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น ความเคลื่อนไหวทางการเมืองเราทุกคนไม่ควรมองข้าม การที่วัยรุ่นให้ความสนใจเรื่องการเมืองเป็นการเตรียมพร้อม และปลูกฝังความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สิทธิ การรักษาสิทธิ และการแสดงออกทางการเมืองในสังคมไทย หลายปีที่ผ่านมาการแสดงออกทางการเมือง เช่น การผูกโบว์สีขาวและสัญลักษณ์สามนิ้วถูกใช้เป็นสัญลักษณ์การแสดงออกทางการเมือง เพราะหากไม่มีการแสดงออกดังกล่าวข้างต้นนั้นก็จะไม่มีใครทราบถึงความต้องการ หรือความเดือดร้อนของตนที่ไม่ได้รับการแก้ไขในสังคมไทย เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาธิปไตยใหม่แห่งอนาคตอย่างแท้จริง
Article Details
References
คณาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2539). ภาษาไทย 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ชยุตม์ พันธุ์สุวรรณ และคณะ. (2562). วิเคราะห์ขบวนการนักศึกษาไทยในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง พ.ศ. 2549-2557. วารสารพัฒนาสังคม. 21 (2), 216-234.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2556). แปดทศวรรษสยามปฏิวัติ: บทวิเคราะห์การเมืองและประชาธิปไตยสยามไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน. กรุงเทพมหานคร: สมมติ.
ธีระยุทธ บุญมี. (2551). การปฏิวัติสัญศาสตร์ของโซซูร์ เส้นทางสู่โพสต์โมเดอร์นิสม์.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิภาษา.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2563). ทำไมต้องแต่ง “ชุดนักเรียน” คำถามคาใจเด็กไทย ประหยัด-ลดความเหลื่อมล้ำ?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/ education/news-563632.
พชร บัวเพียร. (2537). คู่มือเตรียมสอบเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท นิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สกายบุกส์ จำกัด.
พัทยา สายหู และคณะ. (2542). ไทยศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มติชนออนไลน์. (2563). เพราะโรงเรียนไม่ได้สอน เยาวชนกับการต่อสู้เชิงสัญญะ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/columnists/news_2332188
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2540). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก, น.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2552). การเมืองไทยและประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มิสเตอร์ ก็อปปี้.
วิทยา ชินบุตร. (2559). การเคลื่อนไหวทางการเมืองของภาคประชาชนสู่การจัดตั้งพรรคการเมือง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2 (3), 91-98.
ศุจิกานต์ วทาทิยาภรณ์. (2554). สินค้าสัญลักษณ์ในพื้นที่เคลื่อนไหวทางการเมือง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 3 (1), 44-53.
สติธร ธนานิธิโชติ. (2563). บทบาทคนรุ่นใหม่กับประชาธิปไตยช่วงเปลี่ยนผ่าน ความหวังหรือความฝัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://prachatai.com/journal/2018/10/.
สิริทิพพา วิวรรณศิริ. (2564). ทักษะการสื่อสารของมนุษย์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/11sirithippa/xwac-npha-sa.
สุรัตน์ ตรีสกุล. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
BBC NEWS ไทย. (2563). ย้อนเส้นทาง "เป็ดยาง" สัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองก่อนถึงกลุ่ม "ราษฎร".ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.bbc.com/ thai/thailand-54998537.
Dahl, R. A. (1989). Democracy and Its Critics. New Haven: Yale University Press.
PPTV Online. (2563). “โบสีขาว” ความเป็นมา สัญลักษณ์ต้านเผด็จการของเด็กไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.pptvhd36.com.