การพัฒนากรอบการประเมินศักยภาพการจัดการดูแลผู้สูงอายุของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระบุชุดของ หลักการ เกณฑ์ ตัวบ่งชี้และตัวตรวจสอบศักยภาพการจัดการดูแลผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) พัฒนากรอบการประเมินศักยภาพการจัดการดูแลผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ด้วยเทคนิคเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์และกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ 3) พัฒนาโปรแกรมกรอบการประเมินศักยภาพการจัดการดูแลผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกแบบออนไลน์ และ 4) ศึกษาผลการใช้แบบประเมินศักยภาพการจัดการดูแลผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดข้อมูลของศักยภาพการจัดการดูแลผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย 3 หลักการ ได้แก่ 1) หลักการจัดการเพื่อสร้างประสิทธิภาพองค์กร 2) หลักการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และ 3) หลักการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ
2. กรอบการประเมินที่พัฒนาขึ้นมี 3 หลักการ 11 เกณฑ์ 27 ตัวบ่งชี้ และ 89 ตัวตรวจสอบซึ่งจำแนกระดับศักยภาพการจัดการดูแลผู้สูงอายุได้ 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 (ต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน) ถึงระดับที่ 5 (ดีเด่น)
3. โปรแกรมกรอบการประเมินศักยภาพการจัดการดูแลผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งาน
4. ผลการประเมินศักยภาพการจัดการดูแลผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่ได้รับรางวัลตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care: LTC) ดีเด่นกับที่ไม่ได้รางวัลจากกระทรวงสาธารณสุขแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2561). ระบบสถิติการลงทะเบียนกรมการปกครอง ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา http://stat.dopa.go.th/stat/ statnew/upstat_age.php
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2549). มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ.กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). เกณฑ์ตำบล LTC รายเขต (6 องค์ประกอบ). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา http://ltc.anamai.moph.go.th/reportevazone.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพฒันาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560 - 2565). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มาhttps://www.eeco.or.th/th/filedownload/1478/cf4092afd2456bb1f0399557 4db27a75.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2560-2579. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา https://www.dga.or.th/wp content/uploads/2018/08/file_32600e26a233b3fc9c88e48300c10334.pdf
van de Ven, A. H., Angle, L. H., & Poole, M. S. (1989). Research on the management of innovation. New York: Harper & Row.
Vashishth, M. (2014). Role of IT in HRM: Opportunities and Challenges. Indian Journal of Research, 3(4), 159-160.
World Health Organization. (2007). Global age-friendly cities: A guide. France: World Health Organization.