การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความขยันหมั่นเพียรในการเรียนของ นักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อความขยันหมั่นเพียรในการเรียนของนักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 432 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และวิธีการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแปรสาเหตุ ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับเพื่อน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการเรียน การสนับสนุนจากผู้ปกครอง เจตคติต่อการเรียน บรรยากาศการจัดการเรียนรู้ และความขยันหมั่นเพียรในการเรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) โมเดลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความขยันหมั่นเพียรในการเรียนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกข้อ (Chi-Square = 60.84, df = 51, p-value = .162, RMSEA = .020, GFI = .980, AGFI = .960, CFI = 1.000) และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความขยันหมั่นเพียรในการเรียนของนักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา ได้ร้อยละ 73
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ฉัตรา ชลวิถี, เกศินี โสขุมา และวินัย ชุ่มชื่น. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6 (1), 154-166.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2543). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม : การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
ดุสิต วันวัย. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างจิตจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (ศึกษาศาสตร์).มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิษรา พรสุริวงษ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. วารสารวิจัยวิชาการ, 4 (2), 177-186.
บุณยาพร วัตจันทร์. (2562). ปัจจัยสนับสนุนของผู้ปกครองในการตัดสินใจนำบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนเรียนร่วม กลุ่มกรุงเทพกลาง. วารสารศิลปการจัดการ, 3 (2), 105-114.
ปิยลักษณ์ อัครรัตน์, ศุภวรรณ์ เล็กวิไล, ปิยะดา จุลวรรณา, อัชรา เอิบสุขสิริ และดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์. (2564). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะและเจตคติในการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6 (9), 142-157.
มนตรี อินตา และกาญจนา อินตา. (2562). อารมณ์ในชั้นเรียน : อารมณ์ของครูมีผลต่อนักเรียนอย่างไร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14 (2), 461-481.
เรวดี หิรัญ. (2561). ห้องเรียนแสนสุข : กระบวนทัศน์ใหม่เพื่อทลายกับดักในห้องเรียนซึ่งบั่นทอนการเรียนรู้ในห้องเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19 (2). 14-30.
เศรษฐชัย ชัยสนิท. (2562). A Review of Education Communication Model a Practical Teaching in The Thai Classroom Guide. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12 (ฉบับพิเศษ), 9-18.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สุชีรา วิบูลย์สุข และวิรงรอง สิตไทย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช นิพนธ์ต้นฉบับ, 10 (2), 83-89.
สุนิสา เจริญสุข. (2564). การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ระหว่างการสอนแบบ EIS กับการสอนแบบปกติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การประเมินและการวิจัยการศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เอกภูมิ เจียมวิทยานุกูล. (2564). การเมืองกับการศึกษา: บทวิเคราะห์นโยบายการศึกษาของไทยภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปัจจุบัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19 (2), 178-194.
Bollen, K.A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. John Wiley and Sons, Inc.: New York.
Brown, M. W., & Cudeck, R. (1993). Alternative Ways of Assessing Model Fit. Sage Publications, Newbury Park: CA.
Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha? An examination of theory and applications. Journal of Applied Psychology, 78(1), 98–104.
David C. McClelland. (1961). The Achieving Society. D. Van Nostrand Company: New York.
Erikson, E. H. (1968). Identity, Youth and Crisis. New York: Norton.
Hair et al. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th Editions, Pearson: New York.
Jöreskog, K. G., & Sörbom, D. (1993). LISREL 8 Structural Equation Modeling with the SIMPLIS Command Language. Scientific Software International.
Saris. W.E. & Strenkhorst. L H. (1984). Causal modeling non-experimental research: An Introduction to the lisrel approach. Dissertation Abstract International, 47(7), 2261-A.
William A. Mehrens and Irvin J. Lehmann. (1975). Standardized Tests in Education.
nd Editions, Holt Rinehart and Winston: Michigan.