ปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการ ของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย

Main Article Content

สมนึก เตชมหามงคล
ณัฐภัสสร ธนาบวรพาณิชย์
เกียรติชัย วีระญาณนนท์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยเรื่อง “ปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย” เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “แนวทางการจัดการเพื่อพัฒนาการให้บริการของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการบริหารจัดการเกี่ยวกับการวางแผน การจัดองค์การ การนำ การควบคุม และการจัดการด้านบริการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ ช่องทางการขายออนไลน์ ข้อมูล
เชิงลึก ระบบเรียนรู้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ ที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการของธุรกิจประกันวินาศภัยในด้านการเลือกซื้อประกันภัย ด้านการขายและบริการ ด้านการพิจารณารับประกัน และด้านสินไหมทดแทน การวิจัยนี้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นตัวแทนผู้จัดการสาขาธุรกิจประกันวินาศภัย 320 หน่วย โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว วิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ
          ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยการจัดการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ 4.43 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านระบบเรียนรู้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ สูงสุด ถัดมาคือ ด้านเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ ด้านการวางแผน ด้านช่องทางการขายออนไลน์ ด้านระบบสารสนเทศ ด้านการจัดองค์การ ด้านการควบคุม ด้านการนำ และด้านข้อมูลเชิงลึก ตามลำดับ สามารถร่วมกันอธิบายคุณภาพการให้บริการได้ร้อยละ 98.90 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวก ได้แก่ ปัจจัยด้านระบบสารสนเทศ ด้านการนำ ด้านการจัดองค์การ และด้านเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ ส่วนด้านข้อมูลเชิงลึก ด้านการควบคุม ด้านช่องทางการขายออนไลน์ มีอิทธิพลทางลบที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการในธุรกิจประกันวินาศภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วันดี โชคช่วยพัฒนากิจ.(2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษา ด้วยการประมวลกลุ่มเมฆแบบส่วนตัว. คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ศิริลักษณ์ ชานุวัตร์. (2560). ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการส่งเสริมการขายของตัวแทนประกันชีวิต. กศ.ม.สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุทธิพล ทวีชัยการ. (2562). การประชุมวิชาการด้านประกันภัย ครั้งที่ 1. ข่าวประชาสัมพันธ์ของ คปภ. ออนไลน์. แหล่งที่มา: https://www.oic.or.th/en/consumer/news/releases/89262

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (2564). รายงานผลการดำเนินงานของระบบประกันภัยและพัฒนาการที่สำคัญ ประจำปี 2563, สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. ออนไลน์. แหล่งที่มา : https://www.oic.or.th/ sites/default/files/content/92959/07.aenb4-pawabiz-2022q1a4-nl.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (2564). ข้อมูลทางทะเบียนบริษัทประกันวินาศภัย. ข้อมูลสถิติประกันภัย, สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา:https://www.oic.or.th/sites/all/modules/pubdlcnt/pubdlcnt.php?file=https://www.oic.or.th/sites/default/files/content/92720/2564-11-thaebiiynbrisath.xlsx&nid=92720

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (2564). รายชื่อบริษัท สาขา สาขาย่อย สาขาเฉพาะ ของบริษัทประกันวินาศภัย. ข้อมูลสถิติประกันภัย, สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://www.oic.or.th/sites/default/files/content/92723/2564-11-thaebiiy nsrupaibnuyaatsaakhaa-brisathprakanwinaasphay.xlsx

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (2545-2564). สถิติธุรกิจประกันวินาศภัย รายเดือน ของปี 2545 ถึง 2558 และไตรมาส ปี 2559 ถึงปัจจุบัน. ข้อมูลสถิติประกันภัย, สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, แหล่งที่มา:https://www.oic.or.th/th/industry/statistic/ data/39/2.

อภิเกียรติ เตชะจารุพันธ. (2560). Digital Disruption. กรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. แหล่งที่มา: Digital Disruption คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำธุรกิจ (ourgreenfish.com)

Best, J. W. (1993). Research in education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice - Hall.

C.K. Prahalad. (2004). Co-creation experiences: The Next practice in value creation. Direct Marketing Educational Foundation Inc. Originally published.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Krejci, R. V., and D. W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. In Educational and Psychological Measurement.

Louis, A. A. (1958). Management and organization. New York: McGraw-Hill Inc.

Swiss Re Group. (2022). Sigma 4/2021 More risk: the changing nature of P&C insurance opportunities to 2040. Online. Retrieved July 3, 2022 from: https://www.swissre .com/dam/jcr:5b5c9666-8faf-4ee2-9080-fba57c442702/virtual-rvs-%202021-pc-insurance%20opportunities.pdf