การบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ : เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นตามนโยบายโมเดลประเทศไทย 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการทำงานและการมีรายได้ ด้านความมั่นคงทางสังคม ด้านบริการสังคมและด้านนันทนาการ แยกตามเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้สูงอายุ กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้จำนวน288 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 249 ชุด คิดเป็นร้อยละ 86.00 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์สถิติ T-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัจจัยด้านเพศพบว่า ด้านสุขภาพอนามัย ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการทำงานและการมีรายได้
ด้านความมั่นคงทางสังคม ด้านนันทนาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนด้านการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ปัจจัยช่วงอายุพบว่า ด้านสุขภาพอนามัย ด้านบริการทางสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านที่อยู่อาศัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสำคัญ .05 3) ปัจจัยด้านอาชีพ พบว่า ไม่แตกต่างกัน 4) ปัจจัยด้านรายได้พบว่า ด้านความมั่นคงทางสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) จากผลการวิจัยท้องถิ่นต้องบูรณาการสังคมผู้สูงอายุในรูปแบบรวมพลังสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต และต้องพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นให้มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด โดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และสร้างสังคมการเรียนรู้ให้แก่ผู้สูงอายุในรูปแบบกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะด้านความสัมพันธ์ ไปพร้อม ๆ กับทักษะด้านอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้สุงอายุต่อไป และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตนเอง พร้อมกับขับเคลื่อนสังคมผู้สูงอายุไทย โดยให้ผู้สูงอายุมีการสูงวัยอย่างมีคุณภาพให้ได้ ตามระเบียบวาระแห่งชาติ โดยจะต้องใช้ความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนให้ไปถึงเป้าหมาย ตามแนวนโยบายของรัฐ และเพื่อส่งเสริมนโยบายโมเดลประเทศไทย 4.0
Article Details
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2563). ข้อมูลประชากรไทยแยกรายอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://stat.bora.dopa.go.th
กอปรกมล ศรีภิรมย์ และปาลีรัตน์ วงศ์ฤทธ. (2561). นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในกลุ่มประเทศอาเซียนต่อผลลัพธ์การดูแลผู้สูงอายุในเขตเมือง. วารสารเอเชียพิจาร ศูนย์การศึกษาเอเชีย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 5 (9), 107-143.
เกรียงไกร จรเอ้กา. (2554). การจัดสวัสดิการผู้สุงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. อิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณิชานี ฉุนฉลาด. (2558). การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา : http://library2.parliament.go.th/wichakarn/content-digest/ digest021.pdf
ธัญวรัตน์ แจ่มใส. (2564). นโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 6 (3), 1-16”
ระพีพรรณ คำหอม. (2557). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2, กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (2554). การพัฒนารูปแบบการ พัฒนาสังคมและสวัสดิการที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการพัฒนา สังคมของประเทศ: กรณีศึกษาในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ2. กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ.
Garcia, L.M.R. and Navarrro, J.M.R. (2018). The Impact of Quality of Life on the Health of Older People from a Multidimensional Perspective. Journal of Aging Research, Volume 2018, 1-7.
Kiik, S.M. and Nuwa, M.S. (2020). Quality of life of the elderly: a comparison between community-dwelling elderly and in social welfare institutions. Journal llmiah llmu – limu keseha tan. 18 (1), 9-13.
Netuveli, G. and Blane, D. (2008). Quality of life in older ages. British Medical Bulletin. 85 (1), 113–126.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York.Harper and Row Publications.