รูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบครบวงจรของสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ จังหวัดพิษณุโลก ปี พ.ศ.2564

Main Article Content

วรรณา วิจิตร
ไพรัตน์ อ้นอินทร์
กริ่งแก้ว สอาดรัตน์
ธนาลักษณ์ สุขประสาน

บทคัดย่อ

          จากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก และประเทศไทยได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน การระบาดส่วนใหญ่เป็นแบบกลุ่มก้อนจากประชากรที่เคลื่อนย้ายกลับภูมิลำเนา ทำให้มีการแพร่เชื้ออย่างรวดเร็ว ทั้งในชุนชนและสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในระลอกที่ 4 (มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565) มีการระบาดในสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ แล้วนำไปสร้างและตรวจสอบรูปแบบและประเมินรูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ จังหวัดพิษณุโลก ปี พ.ศ.2564 เก็บข้อมูลผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งการศึกษา เป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหา ปรากฏการณ์ของระบบเฝ้าระวังฯ โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้ 600 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิจัย และสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) 2) ยกร่างรูปแบบและยืนยันรูปแบบโดยกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พิจารณา 2 ด้าน คือ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และ 3) ประเมินรูปแบบ 4 ด้าน คือ ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสมและความถูกต้องครบถ้วน โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหาและข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารและพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานประกอบกิจการ ที่ตอบแบบสอบถาม 600 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 93.7 อายุเฉลี่ย 36.5 ปี มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเรื่องผลงานระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ค่าเฉลี่ยของหัวข้อย่อย 3.83-4.27) และการปฏิบัติในระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค (3.97-4.27) ระดับปานกลางเรื่องบทบาทหน้าที่และการมีส่วนร่วมกับระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค (3.29-3.58) เมื่อทำการยกร่างรูปแบบและยืนยันรูปแบบโดยกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า มีความเห็นด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ร้อยละ 100 ผลการประเมินรูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคของสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ ทั้ง 4 ประเด็น ได้แก่ ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสมและความถูกต้องครบถ้วน อยู่ในระดับมาก ซึ่งประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ รูปแบบที่ได้มีสอดคล้องกับสภาพปัญหา เป็นประโยชน์ต่อสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ในการกำหนดนโยบาย แนวทางในการแก้ไขปัญหา และสอดคล้องกับบริบทของสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตติมา รักนาค.(2563).ถอดบทเรียนโควิด-19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://oes.stou.ac.th/wp-content/uploads/2020/40/ถอดบทเรียน-โควิด-19.pdf;

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง และคณะฯ. (2564). การถอดบทเรียนรูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุข

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.hsri.or.th/research/detail/13503.

ชาคร เลิศนิทัศน์ และคณะ. (2563). ประสบการณ์ต่างประเทศของการระบาด และมาตรการคุมการระบาดไวรัสโควิด-19: 5 ข้อสังเกต 4 บทเรียน 3 ความสำเร็จ 2 จุดเปลี่ยน 1 เปิดเมือง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://tdri.or.th/2020/04/how-countries-worldwide-are-fighting-covid-19/

เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2552). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เพื่องานวิจัย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.ms.src.ku.ac.th.

ทรงเกียรติ เล็กตระกูล. (2560). รับมือภัยพิบัติให้มีคุณภาพด้วยหลัก2P2R. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.nationtv.tv/news/378539041.

ภูมินทร์ ศิลาพันธ์. (2560). รับมือภัยพิบัติให้มีคุณภาพด้วยหลัก2P2R. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม

แหล่งที่มา: https://www.nationtv.tv/news/378539041.

วรยา เหลืองอ่อน (บ.ก.). (2556).คู่มือการจัดทำแผนประคองกิจการภายในองค์กร (Business Continuity Plan : BCP) เพื่อเตรียมความพร้อม : กรณีการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่. นนทบุรี:

สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค. (2563). การประเมินความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่2019. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/RiskAssessment/ThaiVers_310163.pdf ;1-7.

สำนักงานแรงงานจังหวัดพิษณุโลก กระทรวงแรงงาน. (2564). ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกตรวจเยี่ยมบริษัท

ไทยแอร์โรว์จำกัด.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2565.แหล่งที่มา: https://phitsanulok. mol.go.th/news/.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก.(2565). รายงานถอดบทเรียน COVID-19 ภารกิจ SAT EOC สคร.2 พิษณุโลก. เอกสาร 19.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.(2558). กรอบแนวทางการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินและ

ระบบบัญชาการเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขกรมควบคุมโรค พ.ศ. 2559 – 2564. นนทบุรี พิมพ์ที่ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เสาวณี จันทะพงษ์และคณะ. (2563). วิกฤตโควิด 19 กับมุมมองด้านเศรษฐศาสตร์สุขภาพ.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/

articles/Pages/Article_07Jul2020.aspx.

Federal Democratic Republic of Ethiopia. (2012). Public Health Emergency Management. Online. Retrieved January 21January , 2022]. from: PHEM guideline-final April 2012 JIS B5 Size (ephi.gov.et)

Krejcie and Morgan. (1970). Sample Size Determination Using Krejcie and Morgan Table. Online. Retrieved January 21, 2022. from: http://www.kenpro.org/sample-size-determination-using-krejcie-and-morgan-table/.