การออกแบบและพัฒนาต้นแบบสินค้าชุมชนจากมรดกภูมิปัญญา ด้านรูปแบบตัวอักษรไทดำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ไทยทรงดำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในไทยที่มีภูมิปัญญาด้านภาษาเป็นเอกลักษณ์และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ ชาวไทยทรงดำตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาด้านการพูดภาษาไทดำ โดยเป็นภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารระหว่างกันแต่แทบจะไม่มีผู้เขียนภาษาไทดำได้ หากขาดการอนุรักษ์และฟื้นฟูจะมีการสูญเสียภาษาและสูญเสียมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การออกแบบและพัฒนาต้นแบบสินค้าชุมชนจากมรดกภูมิปัญญาด้านรูปแบบตัวอักษรไทดำจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาไทดำ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามรดกภูมิปัญญาด้านรูปแบบตัวอักษรไทดำ 2) นำมรดกภูมิปัญญาด้านรูปแบบตัวอักษรไทดำมาออกแบบสินค้าชุมชน และ3) ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อต้นแบบสินค้าชุมชน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 36 คน ได้แก่ ผู้ครองมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้นำด้านวัฒนธรรม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเยาวชน ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (2) กลุ่มผู้บริโภค จำนวน 495 คน ได้แก่ คนรุ่นใหม่วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ และผู้สนใจในผลิตภัณฑ์ ได้มาจากการสุ่มแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์ แบบสอบถามความพึงพอใจ การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนคือ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ และจัดสนทนากลุ่ม 2) การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสินค้าชุมชน 3) การประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบสินค้าชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย 1) ด้านการอ่านและเขียนอักษรไทดำมีผู้อ่านและเขียนได้อยู่จำนวนน้อย พบในผู้สูงอายุและกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับการอบรมจากสมาคมไทดำ (ประเทศไทย) จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้วัฒนธรรมอันดีอาจสูญหายไป เนื่องจากบันทึกจดหมายเหตุต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นหนังสือภาษาไทดำ การสืบทอดวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนจากกลุ่มผู้ถ่ายทอดวัฒนธรรมที่กำลังจะหายไป 2)ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสินค้าชุมชน จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ คือ พวงกุญแจตัวอักษรไทดำ นาฬิกาตัวอักษรไทดำ กระเป๋าผ้า หมอนตัวอักษรไทดำ และเสื้อ 3) ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบสินค้าชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกประเภท
Article Details
References
กุมารี ลาภอาภรณ์ และศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร. (2560). การฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษา
คนสี่กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์. 35 (2),1-26.
จุรีวรรณ จันพลา วลี สงสุวงค์ เพ็ญสินี กิจค้า และสุรีรัตน์ วงศ์สมิง. (2559). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้า
ทอไทยทรงดำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทาง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ .Veridian E Journal ฯ
สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9 (2),82-98.
เทศบาลตำบลบ้านดอน.(2558). ประวัติความเป็นมา สภาพและข้อมูลพื้นฐาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2560. แหล่งที่มา: https://www.bandon.go.th/.
พระมหาธนกร กิตติปญโญ (สร้อยศรี). (2561). รายงานการวิจัย การอนุรักษ์และฟื้นฟูการใช้ภาษาไทหล่มของวัดและชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง เพชรบูรณ์.
มยุรี ถาวรพัฒน์. (2557). การอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์เลอเวือะ (ละว้า) บ้านป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กระแสวัฒนธรรม. 15 (28), 59-66.
รุจิราภา งามสระคู และ ปุณยภา พลวัน.(2561). องค์ความรู้และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6 (1), 176 – 187.
วิลาวัลย์ ปานทอง.(2551). รายงานการวิจัย ภาษาและวัฒนธรรมไทยทรงดำ. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). i.d. story: Theory and Concept of Design หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์.กรุงเทพมหานคร: แอ๊ปป้า พริ้นท์ติ้ง กรุ๊ป .
สมาคมไทดำ (ประเทศไทย).(มปป). แบบเรียนเร็ว.เพชรบุรี.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, NewYork.
Natthida Chakshuraksha. (2003). Language Maintenance and shift in Tai Language: A case study of Black Tai at Nongkhe village, Thailand. M.A. Thesis, Mahidol University.
Suwilai Premsrirat. (2007). Endangered languages of Thailand. International Journal of The Sociology of language, (186), 75-93.
Unchalee Singnoi Wongwattana. (2016). language situation of the Tai Dam ethic group in The lower northern part of Thailand and an approach in building cooperation with the communities in language maintenance. Mekong-Salween Civilization Studies Journal. 7 (2),13-42.