วิเคราะห์การฆ่าในพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

พระมหาธวัชชัย ธมฺมรํสี
พระปลัดพีระพงศ์ ฐิตธมฺโม
นิติกร วิชุมา
ธนกร ดรกมลกานต์

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชีวิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อวิเคราะห์การฆ่าในพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า ชีวิตในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท ได้แก่ ขันธ์ 5 คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ประกอบกันเข้าทำให้เกิดชีวิตมนุษย์ขึ้น เมื่อชีวิตเกิดขึ้นแล้ว ชีวิตต้องดำเนินไปตามหลักมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธปรัชญา เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของชีวิต 2 อย่าง คือจุดมุ่งหมายในระดับโลกีย ได้แก่การดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความสงบสุข และจุดหมายสูงสุดของชีวิตได้แก่พระนิพพาน
          การฆ่าในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ 1) การฆ่าชีวิตมนุษย์ ได้แก่ การทำให้ชีวิตสิ้นสุดลง อันเนื่องมาจากสภาวะความบีบคั้นจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกอันเป็นเหตุนำไปสู่การฆ่าตนเองและการฆ่าผู้อื่น ซึ่งการฆ่าทั้งสองอย่างนี้เป็นการกระทำที่เป็นบาปนำไปสู่อบายภูมิ แต่ในปัจจุบันยังมีผู้ที่เข้าใจผิดอยู่มากว่าการฆ่าตนเองไม่บาป แต่ตามหลักพุทธปรัชญาแล้วการฆ่าตนเองถือว่าเป็นบาป 2) ส่วนการฆ่ากิเลส ได้แก่ ทำลายโลภะ โทสะ และโมหะ ที่อยู่ภายในจิตใจให้หมดไป เป็นการฆ่าที่เป็นความดีเป็นการกระทำที่นำไปสู่สุขคติภูมิ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กัลยา คิดก่อนทำ. (2553). “ศึกษาวิเคราะห์ชีวิตในมุมมองพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

บุญมี แท่นแก้ว. (2546). ความจริงของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้า,

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9, ราชบัณฑิต), (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ คำวัด อธิบายศัพท์และแปลความหมายที่ชาวพุทธควรรู้, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันลือธรรม,

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9, ราชบัณฑิต). (2550). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง,

พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). (2541). กรรมทีปนี เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,

พระมหาทวี ฐานวโร. (2534). “ปาณาติบาตกับปัญหาจริยธรรมในพุทธปรัชญา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 24,กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์,

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย,

สิทธิ์ บุตรอินทร์. (2554). ปรัชญาเปรียบเทียบมนุษย์นิยมตะวันออกตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด,

สุนทร ณ รังสี. (2550). พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก.