การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยก่อนและหลังเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาระดับพัฒนาการคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองกันยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 2 จำนวน 28 คนที่ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ระยะเวลาในการวิจัย 16 คาบเรียน ซึ่งเป็นวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวแบบทดสอบก่อน-หลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 4 แผน 16 ชั่วโมง 2) แบบวัดคุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์แบบอัตนัยเขียนตอบแบบสั้น 3) แบบประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการวิเคราะห์ด้วยการใช้ค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสอบสมมติฐานค่าที (T– test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยก่อนและหลังเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ระดับพัฒนาการคุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของผู้เรียนมีระดับพัฒนาการความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยอยู่ในระดับปานกลางจนถึงระดับมาก
Article Details
References
กุลวดี คูเมือง (2563). การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดี ในระบอบประชาธิปไตยโดยการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. วิทยาลัยครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
กลุ่มการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. (2556). กรอบแนวคิดหลักสูตร การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย. กรุงเทพมหานคร: เทคนิคอิมเมจ.
จารุวรรณ์ ยิ่งยงค์. (2558). การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบสวนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการสอนสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ถวิลวดี บุรีกุล, เมริโอ เออเจนี, รัชวดี แสงมหะหมัด, และ สถาบันพระปกเกล้า. (2558). พลเมืองไทย : การสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.
ทิพย์พาพร ตันติสุนทร (2556). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: พี. เพรส.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง = Civic education.กรุงเทพมหานคร
: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2560, 11 กรกฎาคม). การบริหารจัดการเวลาเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: http://academic.obec.go.th/images/official/1511188151_d_1.pdf
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 116 ตอนที่74ก, น.1-9). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/074/1.PDF
ไพศาล สุวรรณน้อย. (ม.ป.ป.). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL) .เอกสารประกอบการการบรรยาย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 8). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิลาพัณย์ อุรบุญนวลชาติ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สาหรับนักศึกษาครูประถมศึกษา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563). คู่มืออบรมตามหลักสูตร: พลเมืองคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สหายบล๊อกและการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550). การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา อยุทธศิริกุล (2561). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษา. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรรถพล คณิตชรางกูร. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา. สาขาวิชาการศึกษา. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Akin, S., Calik, B., and Engin-Demir, C. (2017, June). Students as Change Agents in the Community:Developing Active Citizenship at Schools. EDUCATIONAL SCIENCES: THEORY & PRACTICE, 17(3), 809-834.
Deakin University. (2020). Global citizenship. Retrieved from. Online. Retrieved October 31, 2021.from https://www.deakin.edu.au/__data/assets/pdf_file/0020/32348/global-citizenship.pdf
Delisle, R. (1997). How to Use Problem-Based Learning in the Classroom. Alexandria, Virgnia: Association for Supervision and Curriculum Development.
IOWA, C. f. t. (n.d.). Steps to a Problem-Based Learning Approach. Retrieved November 8, 2021. from https://teach.its.uiowa.edu/sites/teach.its.uiowa.edu/files/docs/docs/Steps_
of_PBL_ed.pdf
Westheimer, J., และ Kahne, J. (2004). WHAT KIND OF CITIZEN? THE POLITICS OF EDUCATING FOR DEMOCRACY. American Educational Research, 41(2), 240-247.