การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา สำหรับครูกลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา จังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสำหรับครูกลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา (2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสำหรับครูกลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษาในประเด็นต่อไปนี้ (2.1) ผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (2.2) ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและ (2.3) ผลการประเมินการฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นรูปแบบของการวิจัยและพัฒนามี 3 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาร่างหลักสูตรฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และ 3) การประเมินผลการฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ผลการวิจัยพบว่า (1) หลักสูตรฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย 1) เอกสารหลักสูตรฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.78) 2) คู่มือประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.62) (2) ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา มีดังนี้ 2.1) ผลการเรียนรู้ของครูกลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษาภายหลังการฝึกอบรมหลักสูตรการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม คิดเป็นร้อยละ 85.00 2.2) ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็ม ศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54) (3) ผลการประเมินการฝึกอบรมการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา มีดังนี้ 3.1) ความคิดเห็นของครูกลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษาก่อนการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก ( = 4.23) 3.2 ) ผลการประเมินวิทยากรและสภาพบริบทของการฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57) และ 3.3) ความคิดเห็นของครูกลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษาภายหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คำรณ โปรยเงิน. (2550). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องเทคนิคการเพิ่มผลผลิตด้านบุคลากร : กรณีศึกษาพนักงานฝ่ายผลิตแผนกบรรจุผลิตภัณฑ์กลุ่มสื่อสารโทรคมนาคมไร้สายบริษัทดิจิตัลโฟนจำกัด. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (อุตสาหกรรมศึกษา) กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
คณะกรรมการพัฒนาประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2562). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ. ออนไลน์. สืบค้นทาง http://dept.npru.ac.th.
ทรงพล เพชรทอง. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมความรู้การเป็นผู้นำนันทนาการสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มารุต พัฒผล.( 2557). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E Journal ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 7, 682 – 699
วรรณี อนุอัน. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำสำหรับคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตรอุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วารุณี อัศวโภคิน. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาผู้ใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วีรภัทร ไม้ไหว. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลีกสูตรการศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
สุชาติ โสมประยูร. (2553). เทคนิคการสอนสุขศึกษาแบบมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้า
สุพัตรา โคตะวงศ์. (2559). การส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีมด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมแพศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน). (2561). The Knowledge. ออนไลน์. แหล่งที่มา: www.okmd.or.th/Knowledge/okmd-magazine.
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). สรุปผลการสัมมนาการยกระดับครูไทยในศตวรรษที่ 21. (เอกสารอัดสำเนา).
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.(2551). รายงานการวิจัยสมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
อดุลย์ เจียกุลธร. (2550). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครูในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมแนะแนวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.