แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ประทีป ไชยเมือง
เกรียงไกร สัจจะหฤทัย
สุบิน ยุระรัช

บทคัดย่อ

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมฯ (2) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมฯ และ (3) ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 420 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ ส่วนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 7 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินคุณภาพแนวทางการพัฒนาฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยวิธีการทางสถิติทั้งสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิงรวมทั้งการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
           ผลการวิจัยพบว่า
           1) ค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปรองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมฯ มีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) อยู่ในระดับมากขึ้นไป ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีบุคลิกภาพ (  = 4.29) รองลงมา คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ (  = 4.28) ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ (  = 4.23) และด้านการมีความเสี่ยง (  = 4.23)
           2) ผลของการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมฯ ทั้ง 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.การมีวิสัยทัศน์  2.การมีความคิดสร้างสรรค์  3.การมีความกล้าเสี่ยง 4. การทำงานเป็นทีม 5.การมีบุคลิกภาพ  6.การแสดงบทบาทหน้าที่ และ 7.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ค่า Chi – Square = 20.34, df = 13, P = .087, RMSEA = .04, CFI =  1, GFI = .98, AGFI = .96 แสดงให้เห็นว่าโมเดลองค์ประกอบด้านการมีวิสัยทัศน์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
           3) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเชิงนวัตกรรมฯ ได้ด้วยวิธีการ 4 วิธีการ คือ การฝึกอบรม การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจากกรณีศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการใช้เครื่องทางการบริหารจัดการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.2563 – 2565). ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 10 เมษายน 2565. แหล่งที่มา : https://bit.ly/3dKpt0k.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 – 2564 (ฉบับทบทวน). ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 10 เมษายน 2565. แหล่งที่มา : http://www.oic.go.th/FILEWEB/ CABINFOCENTER19/DRAWER039/GENERAL/DATA0000/00000052.PDF.

ขวัญชนก โตนาค และคณะ. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จารุนันท์ อิทธิอาวัชกุล. (2551). บริหารคนเหนือตำรา. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพธุรกิจ Bizbook.

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จุรีวรรณ จันพลา.(2559). การเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้ประกอบการในธุรกิจแปรรูปอาหาร. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9 (1), 53 – 60.

ชัยธวัช เนียมศิริ. (2561). ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุค Thailand 4.0 กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

ฐิตินันท์ นันทะศรี. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17 (79), 11-20.

นัทธี จิตสว่าง. (2555). ความหมายและขอบเขตของการป้องกันอาชญากรรม. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 10 เมษายน 2565. แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/419100.

ปริวัฒน์ ยืนยิ่ง. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4 (3), 330-344.

พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมมสุทโธ.(2559). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในทศวรรษหน้า. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4 (2), 313 – 325.

พิสิฐธวัฒน์ กลิ่นไธสงค์. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

แพรลฎา พจนารถ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การในศตวรราที่ 21. วารสารวิทยการจัดการปริทัศน์, 22 (1).

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). สรุปข้อมูลบุคลากร. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 10 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา https://sesa.obec.go.th/report

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14 (2), 117-128.

สุริยา สรวงศิริ. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา. คณะสหวิทยาการ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อนุพงษ์ ซุมแวงวาปี. (2560). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรวรางค์ จันทร์เกษม. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารตามความคิดเห็นของพนักงานและพฤติกรรมมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิต. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์, 8 (1), 138 – 144.

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. คณะรัฐประศาสนศาตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Ahmed, P.K. (1998). Culture and Climate for Innovation. European Journal of Innovation Management, 1 (1), 30-43.

Dewett T. 2007. Linking intrinsic motivation, risk taking, and employee creativity in an R & D environment. R & D Management, 37,197-208

Diederick, B. Swart. (2013). The Development of an Innovation leadership Questionnaire Stellenbosch Universit. Master of Commerce in the Faculty of Economic and Management Sciences. Stellenbosch University.

Dyer, J., Gregersen, H. & Christensen, C.M. (2011). The Innovator’s DNA: Mastering the fine skills of disruptive innovators. United state America: Harvard Business Press.

Frederickson. Et. Al.. (2012). The Public Administration Theory Primer. Westview Press.

Horth, D. & Buchner, D. (2009). Innovative leadership. Retrieved April 15, 2021, from www.ccl.org/leadership/pdf/research/InnovationLeadership.pdf.

Horth, D. M., & Vehar, J. (2012). Becoming a leader who fosters innovation. Greensboro, NC: Center for creative leadership.

Jacobs, T. O., & Jaques, E. (1990). Military executive leadership. In K. E. Clark & M. B. Clark (Eds.), Measures of leadership. Greensboro, NC: Center for Creative Leadership.

Jong, J. P. and Den Hartog, D. N. (2007). How leaders influence employees’ innovative behaviour. European Journal of Innovation Management, 10(1), 41-64

Joseph F. Hair, Jr., William C. Black, Barry J. Babin, Rolph E. Anderson and Ronald L. Tatham. (2006). Multivariate Data Analysis. 6 th ed. New Jersey: Pearson Education International.

Jueyto, S. (2003). Innovation management: New science of management. Journal of Modern Management, 1(1), 35-43.

Manning, G. and Curtis, K.. (2009). The Art of Leadership. 3rd ed.. McGraw-Hill. New York. NY.

Miller, G., Klokgiers, M. and Deppen, R. (2012). Diffusion of Innovations. New York: Simon & Schuster.

Sena, A. & Erena, E. (2012). Innovative Leadership for the Twenty-First Century. Retrieved April 15, 2021, from www.sciencedirect.com.

Sherwood, D. (2001). Smart Things to Know About Innovation & Creativity. Oxford: Capstone Publishing Limited.

Stottand, K. & Kong. L.S. (2005). Developing Leadership: Creating the schools of tomorrow. Retrieved April 15, 2021, from http://eds.b.ebscohost.com.

Wooi, T. (2013). Innovation leadership in education. Retrieved April 15, 2021, from http://www.slideshare.net/timothywooi/innovation-leadership-in-education-29983666.

Zhang, Y. (2012). Blend Daoism, The Chinese cultural philosophy, with Western leadership theories to enhance innovative capabilities of Chinese enterprises Retrieved April 15, 2021, from http://search.proquest.com/pqdtglobal