การพัฒนากลยุทธ์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิให้เป็น สถานศึกษาชั้นนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
รัฐบาลไทยที่นําโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้รับเอาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals - SDGs) มาจัดทำกรอบการพัฒนาประเทศโดยกำหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” และมีกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574 กำหนดจุดมุ่งหมายของการจัด การศึกษาให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเป็นพลเมือง นั่นคือ เป็นคนดีมีวินัย เป็นพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพของสังคม ประเทศและของโลก มีทักษะความรู้ความสามารถ และ สมรรถนะในการปฏิบัติงานที่ตอบสนองต่อความต้องการแรงงานและการพัฒนาประเทศการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) เป็นเรื่องของการบริหารจัดการ และการ กำหนดกฎเกณฑ์ในการดำรงชีวิตกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจํากัด เพื่อให้สามารถ ตอบสนองความต้องการของมนุษย์โดยที่ไม่มีการทำลายความคงอยู่ของระบบธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถอนุรักษ์การดำรงอยู่แบบสมดุล เพื่อประชากรรุ่นต่อ ๆ ไป
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนากลยุทธ์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิให้เป็นสถานศึกษาชั้นนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้ระบบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีการดำเนินการวิจัยใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดทิศทาง 2) การประเมินสภาพแวดล้อม และ 3) การกำหนดกลยุทธ์ มีกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครู จำนวน 114 คน ตัวแทนผู้ปกครองหรือเครือข่ายผู้ปกครองหรือชมรมผู้ปกครอง จำนวน 20 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 144 กลุ่มที่ 2 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT) และแบบประเมินร่างกลยุทธ์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิให้เป็นสถานศึกษาชั้นนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย ตามวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิให้เป็นสถานศึกษาชั้นนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า 1) กลยุทธ์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิให้เป็นสถานศึกษาชั้นนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล กลยุทธ์ที่ 2 ขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในโลกแห่งอนาคต กลยุทธ์ที่ 3 เร่งรัด พัฒนา อาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม ให้มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม น่าอยู่ปลอดภัย เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง กลยุทธ์ที่ 4 เตรียมการรองรับการเป็นสถานศึกษานิติบุคคล กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย พร้อมร่วมสืบสาน อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย กลยุทธ์ที่ 6 นำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาผสมผสานรูปแบบในการพัฒนา 2) ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยว่ากลยุทธ์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิให้เป็นสถานศึกษาชั้นนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีมาตรฐานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.83) รองลงมา ด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.52) และด้านความถูกต้อง (x ̅ = 4.45)
Article Details
References
กรมสามัญศึกษา. (2545). นโยบายกรมสามัญศึกษา ปีงบประมาณ 2545. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานนโยบาย และแผนกองแผนงาน กรมสามัญศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และกฎ กระทรวงแบ่งส่วนราชการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
จินตนา บุญบงการ. (2544). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ประโชค ชุมพล .(2546). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: ผู้จัดการ.
ประทีป ทับโทน. (2563). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียน สังกัดเทศบาล. ปทุมธานี: วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ. (2563). รายงานประจำปีของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ. กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ.
วันชัย มีชาติ. (2550). การบริหารองค์การ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมชาย พัทธเสน. (2552). กลยุทธ์การบริหารมหาวิทยาลัยในกากับของรัฐในทศวรรษหน้า: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมยศ นาวีการ. (2544). การวางแผนเชิงกลยุทธ์:Strategic Management. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2545). การบริหารเชิงกลยุทธ์ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
อัคพงศ์ สุขมาตย์. (2560). การพัฒนาหลักสูตร Curriculum Development. กรุงเทพมหานคร: มีนเซอร์วิสซัพพลาย
Bateman, Thomas S. and Snell, Scott A. (2007). Management: Leading & Collaborating in a Competitive World. (7th ed.). New York: McGraw-Hill Education.
Bryson, John M. (1995). Strategic Planning for Public and Nonprofit Organization: A Guide to Strengthening and Sustaining Organizational Achievement. New York: Wiley & Sons, Incorporated, John.
Certo, S. C. and Peter, J. P. (1991). Strategic Management: Concept and Applications. New York: McGraw-Hill.
Hill, Charles W.L. and Jones, Gareth R. (2007). Strategic Management: An Integrated Approach. Ed. Boston, M.A. Houghton Miffin Company.
Paul, Samuel. (1983). Strategy Management of Development Programs. Geneva: International Labour Office.
Stufflebeam, D. L. and Coryn, C. L. S. (2014). Evaluation theory, models, and applications. (2nd ed.). New York: Jossey-Bass.