การศึกษาความสามารถด้านดิจิทัลของบุคลากรในสังกัดสำนักงาน อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4

Main Article Content

กรณี ดำหนูไทย

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความสามารถด้านดิจิทัลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4  2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านดิจิทัลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4  3. เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านดิจิทัลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 132 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Independent Sample t-test และ One-Way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05   
          ผลการศึกษา พบว่า 1. ความสามารถด้านดิจิทัลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รองลงมา คือ ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับศักยภาพองค์กรและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการออกแบบกระบวนการและการให้บริการด้วยระบบดิจิทัลเพื่อการพัฒนาคุณภาพงานภาครัฐ 2. การเปรียบเทียบความสามารถด้านดิจิทัลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษา และตำแหน่งการปฏิบัติ พบว่าคุณลักษณะที่แตกต่างกันมีความสามารถด้านดิจิทัล ไม่แตกต่างกัน  3. แนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านดิจิทัลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 หน่วยงานควรมีการจัดอบรมและสอนงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัมพล เกศสาลี และ กันยารัตน์ เควียเซ่น. (2561). การรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. 12 (2), 1-12.

ทิฆัมพร อิสริยอนันต์. (2564). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7 (4), 97-111.

นิตยา สุริน. (2562). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล : กรณีศึกษาสำนักงาน เลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลสำนักงานศาลยุติธรรม. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พงษ์วัตร บุญสนองโชคยิ่ง. (2563). การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กร ดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานเลขานุการสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ศศิวิมล ม่วงกล่ำ. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านความสามารถทางดิจิทัลของครูและบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโทศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

สำนักงานศาลยุติธรรม. (2562). แผนพัฒนาดิจิทัลศาลยุติธรรม. ออนไลน์. แหล่งที่มา: https://techno. coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/iid/130129.

สำนักงานศาลยุติธรรม. (2563). แผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรศาลยุติธรรม พ.ศ.2563 -2564. https://ojoc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/7341/iid/183708.

เนตรนภา ศรีมหาโพธิ์ (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองในองค์กรดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เอมิกา นัดกระโทก. (2564). การพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรในการปฏิบัติงานเพื่อรองรับการ เปลี่ยนแปลงสู่ องค์กรดิจิทัลของสำนักงานอัยการภาค 3. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง