รูปแบบการสื่อสารทางการตลาดผ่านกิจกรรมของธุรกิจวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม

Main Article Content

ปริพัชร์ เวทสรณสุธี
เจตน์สฤษฎิ์ อังศุกาญจนกุล
โกมล ไพศาล

บทคัดย่อ

          การสื่อสารทางการตลาดด้วยกิจกรรมเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เนื่องจากเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจ อีกทั้งเป็นช่องทางสำคัญที่จะสื่อสารรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการให้เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง ถูกต้อง แม่นยำ นอกจากนี้ผู้ประกอบการสามารถกำหนดรูปแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหลังจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยเหตุนี้วัตถุประสงค์การวิจัยประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาระดับของนวัตกรรมการสื่อสาร ผู้ร่วมสนับสนุน ปัจจัยภายนอก การตลาดเชิงกิจกรรม และผลการดำเนินงานของธุรกิจ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของนวัตกรรมการสื่อสาร ผู้ร่วมสนับสนุน ปัจจัยภายนอก และการตลาดเชิงกิจกรรมที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มผลการดำเนินงานของธุรกิจ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสมผสานและกำหนดกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารฝ่ายการตลาด ตลอดจนผู้ประกอบการของธุรกิจที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางการตลาดผ่านทางกิจกรรมของธุรกิจ MSME ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณจำนวน 360 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพจำนวน 14 คน ใช้การสุ่มแบบเจาะจง
           ผลการวิจัยพบว่า
           1. เทคโนโลยีซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ MSME อยู่ในระดับต่ำเนื่องจากธุรกิจ MSME ส่วนใหญ่เป็นองค์ขนาดเล็กถึงขนาดกลางจึงมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ดังนั้นการลงทุนด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต กิจกรรมการตลาด จึงมีความเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ธุรกิจ MSME ยังขาดในด้านทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยี ในการที่จะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์กร
          2. ความสัมพันธ์ของผู้ร่วมสนับสนุนกับผู้บริโภคส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ MSME อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้ผู้บริโภคเริ่มรู้จักกับผลิตภัณฑ์และมีความคุ้นเคย ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวเปรียบเสมือนเป็นการแนะนำตัวให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย แต่ในทางกลับกันผู้ร่วมสนับสนุนนั้นเป็นการร่วมสนับสนุนบางกิจกรรมทางการตลาดเท่านั้น จึงขาดความต่อเนื่องในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค
          3. ประสบการณ์การเรียนรู้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในนวัตกรรมการสื่อสารส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ MSME อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคมีช่องทางรับข่าวสารที่หลากหลายและง่ายต่อการเข้าถึง ดังนั้นการจัดกิจกรรมในรูปแบบเดิมๆ ไม่สามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้บริโภคได้ จะส่งผลให้กิจกรรมทางการตลาดนั้นไม่ได้รับความสนใจ
           4. ภาพลักษณ์ของการตลาดเชิงกิจกรรมส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ MSME อยู่ในระดับต่ำ สามารถอธิปรายได้ว่าผู้ประกอบการ MSME ขาดบุคคลกรที่มีความรู้ทางด้านการสร้างสรรค์กิจกรรม เพื่อสร้างความชัดเจนในการกำหนดภาพลักษณ์ของกิจกรรมทางการตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรธุรกิจค้า. (2564). รายชื่อนิติบุคคลจัดตั้งและเลิกปี 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469412361

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.sme.go.th

Alkali, M. (2012). Assessing the Influence of External Environmental Factor, on the Performance of Small Business Manufacturing enterprises in Bauchi state, Nigeria. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business, 4 (7), 621-628.

Brennan, A. (2003). Necessary and Sufficient Conditions, from http://plato.stanford.edu/ archives/fall2003/entries/necessary-sufficient/, Elsevier, vol. 43(C), pages 170-187.

Christopher, M., Payne, A., & Ballantyne, D. (1991). Relationship Marketing: Looking Back, Looking Forward. Marketing Theory, 3 (1), 159-166.

Coffman, L. (2020). What is the CRM process? 5 key steps. (April 16, 2020) from https://www.zendesk.com/blog/crm-process/

Gwinner, K. (1997). A model of image creation and image transfer in event sponsorship. International Marketing Review, 14 (3), 145-158.

Han, M. C., & Kim, Y. (2016). Can Social Networking Sites Be E-commerce Platforms? Pan – Pacific Journal of Business Research, 7 (1) , 24-39.

Ismailova, N. T., Abisheva, G. O., & Ismailova, D. T. (2019). The Role of Event marketing in Management. News of the National Academy of ciences of the Republic of Kazakhstan, 6 (328), 94-98.

Keller, Deleersnyder & Gedenk. (2019). Price Promotions and Popular Events. Journal of Marketing, 83, 77-88.

Kotler, P., Keller, K. L. (2012). Marketing Management. Pearson Education. Retrieved from https://books.google.com/books?id=I8yNlAEACAAJ&pgis=1

Krajnakova, E., & Navikaite, A. (2015). Paradigm Shift of Small and Medium-Sized Enterprises Competitive Advantage to Management of Consumer Satisfaction. Inzinerine Ekonomika-Engineering Economics, 26 (3), 327–332.

Lombart, C. & Louis, D. (2016). Consumer satisfaction and loyalty: Two main consequencesof retailer personality. Journal of Retailing and Consumer Services, 19, 644-653.

Mondok, A. (2019). Event Management Activity in SMES – Do They Need Educated Personnel?. European Scientific Journal, 8 (4), 127-251.

Mulhern, F. J. (1997). Retail marketing: form distribution to integration. International Journal of Research in Marketing, 14, 103-124.

Ramli, N., Januri, N. F. A., & Ghani, W. S. W. A. (2018). The Influence of Event Performance Quality on Attendees’ Satisfaction. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 8 (7), 520–530.

Tang, Z. (2012). Entrepreneurial orientation and MSME performance in China’s changing environment: the moderating effects of strategies. Asia Pacific Journal of Management, 29 (2), 409-431.

WorldBank (Ed.). (2010). Innovations Policy: A Guide for Developing Countries. Washington, DC.

Zhang, J. (2018). Strategy of Sports Brand Network Marketing on the Basis of Brand Image Promotion. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, 236, 37-40.