การพัฒนาทักษะทางสมองและทักษะความคิดของนักเรียนปฐมวัย โดยใช้กิจกรรม Unplugged Coding

Main Article Content

สุริยา ชาปู่
สุรีย์พร สว่างเมฆ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดกิจกรรมที่พัฒนาทักษะทางสมองและทักษะความคิดของนักเรียนปฐมวัย โดยใช้กิจกรรม  Unplugged Coding 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดกิจกรรมที่พัฒนาทักษะทางสมองและทักษะความคิดของนักเรียนปฐมวัย โดยใช้กิจกรรม  Unplugged Coding และ3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมที่พัฒนาทักษะทางสมองและทักษะความคิดของนักเรียนปฐมวัย โดยใช้กิจกรรม  Unplugged Coding โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 50 คน และทดลองใช้รูปแบบเพื่อติดตามพัฒนาการนักเรียนปฐมวัยที่เรียนในห้องเรียนของครูอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 200 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะทางสมองและทักษะความคิดของนักเรียนปฐมวัย โดยใช้กิจกรรม Unplugged Coding รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะทางสมองและทักษะความคิด แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และแบบประเมินพฤติกรรมความสามารถด้านทักษะทางสมองและทักษะความคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะทางสมองและทักษะความคิดของนักเรียนปฐมวัย โดยใช้กิจกรรม Unplugged Coding โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะทางสมองและทักษะความคิดของนักเรียนปฐมวัย ประกอบด้วย จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  และแบบประเมินพฤติกรรมความสามารถด้านทักษะทางสมองและทักษะความคิด ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนปฐมวัยที่ได้รับการทดลองโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะทางสมองและทักษะความคิด โดยใช้กิจกรรม Unplugged Coding หลังการทดลองมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิตยา คชภักดี. (2559). การศึกษาไทยต้องเริ่มต้นที่‘เด็กปฐมวัย’. คมชัดลึก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2562. แหล่งที่มา: https://www.thaihealth.or.th/Content/30937-การศึกษาไทยต้องเริ่มต้นที่‘เด็กปฐมวัย’.html

พัชราภรณ์ จารุพันธ์. (2019). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับหุ่นยนต์ mBot วิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดเชิงตรรกะและการแก้ปัญหาเชิงระบบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 12 (6), 2425-2441

ภัคนันท์ ยอดสิงห์. (2560). การออกแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านความสามารถ ทางภาษาอังกฤษของเด็กอายุ 3-6 ปี. ปริญญาศิลปประยุกต์บัณฑิต สาขาวิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะศิลปะประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ศรายุทธ ดวงจันทร์. (2561). ผลการใช้แนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตาม

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา. กรุงเทพมหานคร:

สกศ. กลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ.

อารี สัณหฉวี. (2552). พหุปัญญาประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเพื่อการศึกษาเด็ก.

Johnstone, A., Hughes, A. R., Bonnar, L., Booth, J. N. and Reilly, J. J., (2019). An active play intervention to improve physical activity and fundamental movement skills in children of low socioeconomic status: feasibility cluster randomised controlled trial. Pilot and Feasibility Studies. 5(45), 1-13.

Mulia, D. (2016). Towards Play-Based Learning Practice. Kajian Linguistik dan Sastra, 1 (1), 44-47.

Tim Bell, IanH. Witten and Mike Fellows. (2015). Computer Science Unplugged off-line activities and games for all ages.