การวินิจฉัยองค์การผ่านแนวคิดไคเซ็น

Main Article Content

ดลยา บุญชูวงศ์
อธิธัช สิรวริศรา
ฐิติมา โห้ลำยอง
สุพัตรา ยอดสุรางค์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการวินิจฉัยองค์การ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันของบุคลกร ในองค์การ การหาสาเหตุของอาการหรือปัญหาที่สถานประกอบการกำลังประสบอยู่ การวินิจฉัยมุ่งค้นหาปัญหาให้ถึงปัจจัยสาเหตุรอบด้าน และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของปัญหา ชี้แนะถึงจุดเด่น จุดด้อยของสถานประกอบการเพื่อค้นหาปัญหาขององค์การ โดยดำเนินการใน 5 ด้าน คือ 1) การบริหารจัดการ  2) การตลาด 3) การผลิต  4) การเงิน/บัญชี  5) ทรัพยากรบุคคล
          จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อพบประเด็นปัญหาจากการวินิจฉัยองค์การ แนวคิดในการแก้ปัญหาที่มีความเหมาะสมคือแนวคิดไคเซ็น โดยมุ่งปรับปรุงวิธีการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน บุคลากรทุกระดับ ร่วมกันแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ โดยใช้ Checklist ตรวจเช็คตามหัวข้อการบริหารจัดการนโยบายจากผู้บริหาร เพื่อสำรวจปัญหาและออกแบบกลยุทธ์เพื่อทำการปรับปรุงควบคุมคุณภาพของงาน, หัวข้อบุคลากร และแรงงาน หรือองค์การ หรือสถานประกอบการ, กับทีมทำกิจกรรมไคเซ็น รวมถึงเป้าหมาย และการจัดทำแผนที่ชัดเจนโดยส่วนงานทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้รับผิดชอบ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

สวินทร์ พงษ์เก่า. (2564). Kaizen เทคนิคปรับปรุงและยกระดับงาน เพื่อการเพิ่มผลผลิต.กรรมการบริหาร.

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์. (2564). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.ohswa.or.th Geary A.Rummler และ Alan P. Brache (1995) Strategic Performance Management