การพัฒนาแบบทดสอบการอ่านและการสะกดคำภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีความเสี่ยงบกพร่องด้านการอ่าน: การศึกษานำร่อง

Main Article Content

พิกุลทอง นักทำนา
ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์
อุทัยพร ไก่แก้ว

บทคัดย่อ

          แบบทดสอบการอ่านถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ทราบความสามารถ จุดอ่อน จุดแข็ง และพัฒนาการในการอ่านของนักเรียน แม้ว่าแบบทดสอบการอ่านได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างมากมาย แต่ส่วนใหญ่เน้นศึกษาผลในระดับพฤติกรรม คือความถูกต้อง ความคล่องแคล่วและความเข้าใจในการอ่าน และใช้กับนักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านปกติ แต่แบบทดสอบการอ่านภาษาไทยมีการศึกษาการทำงานในระดับประสาทสรีรวิทยาร่วมด้วย และเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับนักเรียนที่มีความเสี่ยงบกพร่องด้านการอ่านยังมีอยู่อย่างจำกัดและไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบการอ่านและการสะกดคำภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีความเสี่ยงบกพร่องด้านการอ่าน สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนที่มีความเสี่ยงบกพร่องด้านการอ่านที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดชลบุรี ในปีการศึกษา 2564-2565 จำนวน 12 คน แบบทดสอบการอ่านและการสะกดคำภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีความเสี่ยงบกพร่องด้านการอ่าน ประกอบด้วย สิ่งเร้าที่ใช้ในการทดสอบ 4 ประเภทๆ ละ 60 สิ่งเร้า รวมทั้งสิ้น 240 สิ่งเร้า ดังนี้ 1) คำ (Words: W) 2) คำพ้องเสียงเทียม (Pseudohomophones: PH) 3) คำเทียม (Pseudowords: PW) และ 4) ตัวอักษรเทียม (False fonts: FF) ทำการตรวจสอบคุณภาพความตรง (Validity) เชิงเนื้อหา โดยการวิเคราะห์หาค่า (Index of item objective congruence: IOC) พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และผลการตรวจสอบคุณภาพความเที่ยง (Reliability) ได้ค่า อัลฟาคอนบราค (Cronbach's Alpha) เท่ากับ .912
          ทำการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องของสิ่งเร้าทั้ง 4 ประเภท พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องของสิ่งเร้าประเภทตัวอักษรเทียม (FF) มีค่าสูงสุด รองลงมาคือ คำ (W) คำพ้องเสียงเทียม (PH) และ คำเทียม (PW) ตามลำดับ ในทุกกระดับการศึกษา และเมื่อทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องของสิ่งเร้าตามระดับการศึกษา พบว่า นักเรียนที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องของสิ่งเร้าประเภทคำแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องของระดับการศึกษาเป็นรายคู่ พบว่า นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องของการตอบแบบทดสอบการอ่านและการสำกดคำ สำหรับสิ่งเร้าประเภทคำ (W) น้อยกว่า นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรพิมล ชูสอน และ ศิราวรรณ ภูงามดี. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้ แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. Journal of Buddhist Education and Research. 6 (2), 61-72.

พิมพ์ผกา พิพู, สุพันธ์วดี ไวยรูป และ ธนินท์ธร แดงทิม. (2565). การพัฒนาทักษะด้านการอ่านพยัญชนะของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้เกมการศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (7), 27-38).

มัลลิกา ศานติประพันธ์ และ พัชรินทร์ สุริยวงค์. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านซ่อง (ประชากรบำรุง). วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา. 3 (1), 30-37.

สุรีย์ แซ่ท้าว, ยุพิน จันทร์เรือง และ เบญจมาภรณ์ สุริยาวงศ์. (2564). การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยแม่กน แม่กด แม่กบ โดยใช้เพลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง โรงเรียนบ้านมนตรีวิทยา. พิฆเนศวร์สาร. 17 (1), 123-136.

Bryant, N. D. (1964). Characteristics of dyslexia and their remedial implication. Exceptional Children. 31 (4), 195-199.

Byrd, R. S. (2005). School failure: assessment, intervention, and prevention in primary pediatric care. Pediatrics in Review. 26 (7), 227-237.

Coltheart, M., Curtis, B., Atkins, P., & Haller, M. (1993). Models of reading aloud: Dual-route and parallel-distributed-processing approaches. Psychological Review. 100 (4), 589-608.

Cramer, S. (2014). Dyslexia international: Better training, better teaching. Online. Retrieved June 22, 2022. from: www.dyslexia-international.org

Hasko, S., Groth, K., Bruder, J., Bartling, J., & Schulte-Körne, G. (2013). The time course of reading processes in children with and without dyslexia: an ERP study. Frontiers in human neuroscience. 7, 570.

Hasko, S., Groth, K., Bruder, J., Bartling, J., & Schulte-Körne, G. (2014). What does the brain of children with developmental dyslexia tell us about reading improvement? ERP evidence from an intervention study. Frontiers in human neuroscience, 8, 441.

Krause, M. B. (2015). Pay attention!: sluggish multisensory attentional shifting as a core deficit in developmental dyslexia. Dyslexia. 21 (4), 285-303.

Kweldju, S. (2015). Neurobiology Research Findings: How the Brain Works during Reading. PASAA: Journal of Language Teaching and Learning in Thailand, 50, 125-142.

Lyon, G. R., Shaywitz, S. E., & Shaywitz, B. A. (2003). A definition of dyslexia. Annals of dyslexia. 53 (1), 1-14.

Massaro, D. W., & Cohen, M. M. (1994). Visual, orthographic, phonological, and lexical influences in reading. Journal of Experimental Psychology: human perception and performance. 20 (6), 1107.

Rahbari, N., & Sénéchal, M. (2009). Lexical and nonlexical processes in the skilled reading and spelling of Persian. Reading and Writing. 22 (5), 511-530.

Rimrodt, S. L., & Lipkin, P. H. (2011). Learning disabilities and school failure. Pediatrics in Review-Elk Grove. 32 (8), 315.

Roongpraiwan, R., Ruangdaraganon, N., Visudhiphan, P., & Santikul, K. (2002). Prevalence and clinical characteristics of dyslexia in primary school students. Journal of the Medical Association of Thailand= Chotmaihet thangphaet. 85, S1097-1103.

Shaywitz, S. E., & Shaywitz, B. A. (2007). The neurobiology of reading and dyslexia. The ASHA Leader. 12 (12), 20-21.

Vellutino, F. R., Fletcher, J. M., Snowling, M. J., & Scanlon, D. M. (2004). Specific reading disability (dyslexia): What have we learned in the past four decades? Journal of child psychology and psychiatry. 45 (1), 2-40.

Winskel, H., & Iemwanthong, K. (2010). Reading and spelling acquisition in Thai children. Reading and Writing. 23 (9), 1021-1053.