การพัฒนาระบบการจัดการโลจิสติกส์ด้วยสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทางการท่องเที่ยวแบบวิถีกิน วิถีถิ่นในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

สัมปตี สงวนพวก
ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
กนก พานทอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการโลจิสติกส์ด้วยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทางการท่องเที่ยวแบบวิถีกิน วิถีถิ่นในจังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การพัฒนาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และ 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) กลุ่มนักท่องเที่ยว 2) กลุ่มผู้ประกอบการ และ 3) กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 112 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับองค์ประกอบของการจัดการโลจิสติกส์และสารสนเทศภูมิศาสตร์ แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสารและแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบวิถีกิน วิถีถิ่น ด้วยการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลจากการศึกษาปรากฏว่า พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่มีต่อองค์ประกอบของการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีองค์ประกอบ 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกายภาพ 2) ด้านข้อมูลข่าวสาร 3) ด้านการเงิน 4) ด้านบุคลากรด้านการท่องเที่ยว 5) ด้านสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว 6) ด้านสถานที่ และ 7) ด้านสิ่งดึงดูดใจ โดยด้านข้อมูลข่าวสารได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดจากนักท่องเที่ยว แต่สำหรับผู้ประกอบการควรได้รับคำแนะนำ พัฒนาและปรับปรุงในการจัดการโลจิสติกส์ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากชุมชนและผู้นำชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลิตา ตริยาวนิช และคณะ. (2562). การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 8 (1), 23 – 33.

เดอะโมเมนตัม. (2563). 20 ประเทศที่ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากที่สุด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://themomentum.co/ coronavirus-tourism-industry/

เถลิงศักดิ์ ชัยชาญ. (2555). โครงการวิจัยการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ. (2564). สื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกการท่องเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทย. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร. 5 (1), 37-56.

เอกชัย กกแก้ว และคณะ. (2559). เว็บแอพพลิเคชั่นเพื่อบูรณาการข้อมูลท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. 3-5 กุมภาพันธ์ 2559. ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน).