การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจคุณลักษณะการสอนที่ดี ของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสร้างแรงบันดาลใจและความกระตือรือร้นของผู้เรียนด้วยกลวิธีการจัดการเรียนการสอนจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน คุณลักษณะที่ดีของคณาจารย์มีองค์ประกอบสำคัญในการจัดการเรียนการสอนและรูปแบบวิธีการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะการสอนที่ดีของคณาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจคุณลักษณะการสอนที่ดีของคณาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างได้แก่คณาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวนทั้งสิ้น 290 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
ผลการวิจัย พบว่า (1) คุณลักษณะการสอนที่ดีของคณาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหงโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความรอบรู้เชี่ยวชาญในการสอน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ด้านการเป็นต้นแบบ/แบบอย่างที่ดี ด้านศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ และด้านศาสตร์ในการวัดและประเมินผล (2) องค์ประกอบเชิงสำรวจคุณลักษณะการสอนที่ดีของคณาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า ประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งหมด 5 ด้าน เรียงตามลำดับค่าไอเกนจากมากไปหาน้อย ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 คือด้านศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 2 คือด้านศาสตร์ในการวัดและประเมินผล องค์ประกอบที่ 3 คือด้านการเป็นต้นแบบ/แบบอย่างที่ดี องค์ประกอบที่ 4 คือด้านความรอบรู้เชี่ยวชาญในการสอน และองค์ประกอบที่ 5 คือด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยมีค่าไอเกนเท่ากับ 5.65, 5.48, 4.82, 3.71 และ 2.28 ตามลำดับ และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.44 ถึง 0.80
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
กิตติชัย โคงัน. (2565). รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคําปลาฝานาทวีสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2 (2) : 93-108.
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2561). การศึกษาและความเป็นครูไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจมาภรณ์ ฤาไชย และลลิตพรรณ ปัญญานาค. (2564). การศึกษากลวิธีการโค้ชเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาจีน. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 1 (4) : 49-59.
พระครูสมุห์ทิพย์ สิริธมฺโม. (การเพียร). (2561). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของอาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ดุษฎีนิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมงคลธรรมวิธาน, พระครูสิริธรรมนิเทศ และประสิทธิ์ สระทอง. (2561). ครูมืออาชีพสู่การเรียนรู้แบบมืออาชีพ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11 (1), 2486-2499.
พระราชดำรัส พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) พระราชทานแก่คณะครู. (ม.ป.ป.). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.pkn2.go.th/ fileupload/downloads/28036146.495575.pdf.
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541. (2541). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (24ก), 1-18.
พิชญาภา ยืนยาว และ ธีรวุธ ธาดาตันติโชค. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
พิชญาภา ยืนยาว และ ธีรวุธ ธาดาตันติโชค. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูมืออาชีพในศตวรรษที่21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 16 (1), 470-480.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2565). วิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยรามคำแหง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา https://www.ru.ac.th/th/AboutUs/page?view=Vision
รุ่งโรจน์ สงสระบุญ, จิตระวี ทองเถา และปทิตตา โอภาสพงษ์. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยการทํางานในสภาพจริง. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 2 (1), 41-52. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา . https://doi.org/10.14456/iarj.2022.5.
สมจิน เปียโคกสูง และ ธรา อั่งสกุล (2554). คุณลักษณะการสอนที่ดีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี: มุมมองของอาจารย์และนักศึกษา. Suranaree J. Soc. Sci. 5 (2), 109-130.
สมจิน เปียโคกสูง และธรา อั่งสกุล. (2554). คุณลักษณะการสอนที่ดีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี : มุมมองของอาจารย์และนักศึกษา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 5 (2), 109-130. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2565. แหล่งที่มา: file:///C:/Users/DELL/Downloads/sjss,+Journal+ manager,+_11-1814(109-130)Part5.pdf.
สุคนธา ทองบริสุทธิ์. (2553). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ในความคิดเห็นของนิสิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุนันท์ สีพาย (2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 247 (13), 246-263.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis : A Global Perspective. (7th ed.). New York: Pearson Education.
Munro, B. H. (2001). Statistical Methods for Health Care Research. (6th ed.). Philadelphia: Lippincott.
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2001). Using multivariate statistics. (4th ed.). Needham, MA Allyn & Bacon.