ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

Main Article Content

นิยดา เปี่ยมพืชนะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1)  ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา  2)  ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา  และ  3)  ตัวแปรทำนายภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1  เป็นการวิจัยเชิงทำนายหรือการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์  กลุ่มตัวอย่างคือ  ผู้บริหารสถานศึกษา  และครู  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1  จำนวน  337 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมพันธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน 
          ผลการวิจัยพบว่า  1)  ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2)  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก  3)  ตัวแปรทำนายภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา  พบว่า  มี  5  ตัวแปรที่ทดสอบแล้วมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  เรียงตามลำดับ  คือ  ด้านการพัฒนาวิชาชีพ ด้านการนิเทศการศึกษา  ด้านการสร้างบรรยากาศทางวิชาการ  ด้านการจัดการเรียนการสอน  และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์  มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ  96.50  
         


               

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ สนองญาติ. และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 25 (2),72-86.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ.อุบลราชธานี: สำนักพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.

พรรณทิภาภรณ์ อภิปริญญาและจุไรรัตน์ สุดรุ่ง (2562) สภาพและปัญหาของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 และ เขต 2 กรุงเทพมหา นคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 14 (2),1-12.

ภัทรวรรณ ตุ้มประชาและนภาเดช บุญเชิดชูและจิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของข้าราชการครู โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในจังหวัดนครปฐม.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9 (1), 151-165.

วิชัย วงษใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2563). New normal ทางการเรียนรู้.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศุภลักษณ์ ชัยอาวุธ และเพียงแข ภูผายาง. (2564). การเป็นชุมชนแห่งการเรียนทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11 (3),109-123.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563. ขอนแก่น.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2559). แนวทางการส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา.กรุงเทพมหานคร.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการอบรมคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สู่สถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สิริพรรณ ชูสกุล.(2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. การค้นคว้าอิสระ. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหา บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

Chell, J. (2001). Introducing Principal to the Role of Instructional Leadership : A Summary of Master’s Project.New York : McGraw-Hill.

Dimmock,C.,and Walker, A. (2005). Educational Leadership: Culture and diversity.Gateshead: Athenaeum.

Flemming and Flemming. (2001). Soulful leadership:Leadership characteristics of spiritual leaders contributing to increased meaning in life and work. New York: University of Phoenix.

Glickman. (2007). Supervision of Instruction : A developmental Approach.(5th ed). Boston : Allyn and Bacon.

Heck,R.H., and Hallinger, P. (2009). Assessing the contribution of distributed leadership to school improvement and growth in math achievement. American Educational Research Journal, 46, 626-658.

Jazzar, M. and Algozzine, B. (2007). Keys to Successful 21st Century Educational Leadership. Toronto : Pearson.

Peter, J.P.,and Olson, J.C. (2008). Consumer behavior and marketing strategy. Boston : McGraw-Hill/lrwin.

Van Deventer, I., and kruger, A. G. (2003). An educator’ s guide to school management skills. Pretoria: Van Schaik.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.Tokyo: Harper International Edition.